เมื่อเด็กได้รับการทดสอบด้วยแบบประเมินต่างๆ แล้วจะทำให้รู้ว่าเด็กแต่ละคนมีประเด็นปัญหาด้านใด นักกิจกรรมบำบัดจะเป็นผู้วิเคราะห์และจัดกิจกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทรับความรู้สึกสั่งการ (Sensory-Motor) หรือการตอบสนองต่อสิ่งเร้าความรู้สึกต่างๆ (Sensory Reactivity) ที่เป็นประเด็นของเด็กแต่ละคน โดยกิจกรรมการฝึกจะอยู่ในบริบทของการเล่น มีการท้าทายอย่างเหมาะสม (Just right challenge) กับความสามารถของเด็กแต่ละคน มีการปรับแต่งระดับความเข้มข้นของสิ่งเร้าต่างๆ เพื่อให้เด็กเกิดพฤติกรรมการปรับตัวตอบสนองอย่างเหมาะสม (Adaptive response) สามารถคงสมาธิจดจ่อ จัดการงานต่างๆ ได้อย่างสำเร็จ
คือโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนโดยนักกิจกรมบำบัด จะคำนึงถึงองประกอบ (Component) พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเขียน ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการทรงท่า (Postural control) ความมั่นคงของข้อต่างร่างกาย (Joint co-contraction) ความทนทานของระบบประสาทและตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Endurance/Muscle tone) การควบคุมกล้ามเนื้อตา (Eye movement control) การรับรู้ทางด้านสายตา (Visual Perception) สหสัมพันธ์การทำงานของร่างกายทั้งสองซีก (Bilateral coordination) การทำงานไขว้กลางลำตัว (Crossing body midline) การวางแผนการเคลื่อนไหว (Motor planning) สหสัมพันธ์ของตาและมือ (Eye-hand co-ordination) การรับความรู้สึกสั่งการภายในมือ (Sensory-Motor) ท่าจับดินสอที่มีประสิทธิภาพ (Hand Prehension) สมาธิและช่วงความสนใจ (Attention span) ทัศนคติและแรงจูงใจในการเขียน รวมถึงพัฒนาการเขียนที่เหมาะสมของเด็กแต่ละช่วงวัย
คือโปรแกรมที่ต่อยอดจากโปรแกรมการฝึกแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ที่มุ่งเน้นพัฒนาทักษะทางสังคม การสื่อสาร การปรับตัว และการเรียนรู้กฎกติกา ผ่านกิจกรรม Sensory-Motor ที่สนุกสนาน
คือโปรแกรมกระตุ้นพัฒนาการเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 24 เดือน โดยนักกิจกรรมบำบัดที่มุ่งเน้นใช้หลักการประสาทพัฒนาการมนุษย์ (Neurodevelopment) ในการกระตุ้นพัฒนาการ และมีการทดสอบพัฒนาการด้วยแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย Denver II โดยผู้ที่ผ่านการอบรมเป็นผู้ทดสอบพัฒนาการ เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross motor) ตั้งแต่การชันคอ พลิกตะแคงตัว คืบ คลาน ลุกนั่ง เกาะยืน เดิน วิ่ง พัฒนาการด้านภาษา (Language) ตั้งแต่การหันหาเสียง การเลียนเสียงที่ไม่มีความหมาย การออกเสียงที่มีความหมาย การสื่อสารทำตามคำสั่งขั้นตอน พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและการปรับตัว (Fine motor-Adaptive) ตั้งแต่การมองตาม การหยิบจับของชิ้นเล็ก การใช้มือทำงานร่วมกันตรงกลางลำตัว การเลียนแบบการเคลื่อนไหว และความคล่องแคล่วแม่นยำในการใช้มือ พัฒนาการด้านสังคมและการช่วยตัวเอง (Personal-Social) ตั้งแต่การยิ้มตอบสนอง การแสดงความต้องการ การเลียนแบบการเล่น การเล่นสมมติ และการช่วยเหลือตนเองตามวัย เพื่อให้พัฒนาการแต่ละลำดับขั้นเป็นไปตามวัย และมีความพร้อมสำหรับการเรียนรู้
คือโปรแกรมการสอนแบบหนึ่งต่อหนึ่งโดยครูการศึกษาพิเศษ ในการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทย สำหรับเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาพื้นฐานในการจดจำพยัญชนะ สระ ตัวอักษร การผสมคำ การสะกด การออกเสียงต่างๆ โดยมีการใช้สื่อ และเทคนิคต่างๆ ช่วยทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ จดจำได้ง่ายขึ้น มั่นใจในการอ่าน และการเขียนมากขึ้น