http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม1,009,285
เปิดเพจ1,229,617

ความสัมพันธ์ระหว่างการข้ามคลานกับการจับและการควบคุมดินสอ ในเด็กอายุ 5 และ 6 ปี

ความสัมพันธ์ระหว่างการข้ามคลานกับการจับและการควบคุมดินสอ ในเด็กอายุ 5 และ 6 ปี

(The association of an omitted crawling milestone with pencil grasp and control in five- and six-year-old children)

ABSTRACT

เด็กที่เข้ารับบริการกิจกรรมบำบัดเกี่ยวกับปัญหาท่าทางการหยิบจับ หรือการควบคุมดินสอ (pencil grasp and control) ผู้ปกครองมักรายงานว่าเด็กมักข้ามพัฒนาการคลาน การศึกษานี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้ระหว่างการข้ามขั้นพัฒนาการคลาน สัมพันธ์กับท่าทางการจับและควบคุมดินสอ โดยการศึกษากลุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 5 ถึง 6 ปี จำนวน 30 คน ที่ข้ามพัฒนาการคลาน เปรียบเทียบกับกลุ่มเด็กที่พัฒนาการคลานปกติ โดยใช้แบบประเมินการรับรู้ทางสายตา (Developmental Test of Visual Perception หรือ DTVP-2) และแบบสังเกตการหยิบจับดินสอ (a pencil grasp observation) ที่ใช้ในการประเมินการจับและการควบคุมดินสอ ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างเด็กที่พัฒนาการคลานปกติ และเด็กที่ข้ามขั้นพัฒนาการคลาน ในการจับดินสอ และการรับรู้ทางด้านสายตา (visual perception) แต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในด้านการควบคุมดินสอ โดยข้อจำกัดของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แก่กลุ่มขนาดตัวอย่างที่มีขนาดเล็ก การให้คำจำกัดความของการข้ามพัฒนาการคลาน และการขาดเครื่องมีมาตรฐานในการประเมินการหยิบจับดินสอ คำแนะนำให้มีการศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคตเกี่ยวกับการข้ามพัฒนาการคลาน ที่เป็นส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ และการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการควบคุมดินสอ   

Introduction and literature review

การคลาน คือ สหสัมพันธ์การเคลื่อนไหวระหว่างมือและเข่า ขณะเคลื่อนย้ายตัวบนพื้น เป็นขั้นพัฒนาการวัยทารก และมักเริ่มเกิดขึ้นช่วงอายุประมาณ 7 เดือน จนสมบูรณ์ตอน 9 เดือน การคลานประกอบด้วย การเคลื่อนไหวของแขนขาและลำตัว การเอี้ยวตัวของแขนและขาได้อย่างเป็นอิสระ รวมถึง ความสามารถในการยกลำตัวขึ้นจากพื้น เป็นพัฒนาการลำดับแรกของทารกในการเคลื่อนไหวเพื่อสำรวจสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้ได้ของเล่น ทารกจะคลานประมาน 4-6 เดือน จนกระทั่งสามารถเดินได้อย่างอิสระ เมื่ออายุประมาณ 12 เดือน งานวิจัยบ่งชี้ว่าการคลานไม่ได้เป็นเพียงการเตรียมตัวสำหรับการเดินเพียงอย่างเดียว แต่เป็นหลายๆ องค์ประกอบที่สำคัญของพัฒนาการ เช่น การรับรู้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย การวางแผนการเคลื่อนไหว การรับรู้ทางสายตา และสหสัมพันธ์ของตาและมือ ดังนั้น การมีข้อกำจัดของการคลานจึงส่งผลต่อพัฒนาการบางอย่าง  งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยต่างๆ เช่น คุณภาพของการเคลื่อนไหวรยางค์ส่วนบนมีความสัมพันธ์กับ การรับรู้สึกสัมผัสผิวกาย (tactile) ทักษะการรับความรู้สึกเคลื่อนไหวจากเอ็น ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ (proprioceptive and kinesthetic skill) และความสามารถของเด็กก่อนวัยเรียน อาจได้รับผลกระทบจากการข้ามขั้นพัฒนาการคลาน การศึกษาเหล่านี้มุ่งเน้นที่ความสำคัญของพัฒนาการคลานในการพัฒนาระบบรับความรู้สึกสั่งการ (sensory and motor system) และทักษะการเคลื่อนไหว ( motor skills)

Chapelais และ Macfarlane ยืนยันว่า การคลานน้อยกว่า 2 เดือน ไม่เพียงพอต่อทักษะที่จำเป็นของรยางค์ส่วนบน (upper limb) และเด็กเหล่านี้มักจะมีพัฒนาการเดินก่อนเกณฑ์ (early walkers) และจัดอยู่ในกลุ่มเด็กที่ไม่คลาน ตามผลงาน Bottos กล่าวว่าเด็กที่ข้ามขั้นพัฒนาการคลานมักมีการเคลื่อนย้ายตัว (locomotion) ที่แตกต่างออกไป (ยกเว้นการเดิน) เช่น เคลื่อนไหวในแนวด้านข้างโดยไม่มีการลงน้ำหนักของแขน หลัง หรือ หน้าท้อง ก็จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กที่ไม่คลาน ในเด็กที่ใช้รถหัดเดิน (walking ring) ทุกๆ 24 ชั่วโมง จะทำให้เด็กมีพัฒนาการคลาน ยืนตามลำพัง และเดินช้ากว่าวัย เฉลี่ย 3.3 -  3.7 วัน แสดงให้เห็นของความสัมพันธ์ของการใช้อุปกรณ์ช่วยหัดเดิน และพัฒนาการล่าช้า อุปกรณ์หัดเดินต่างๆ มักนิยมใช้อย่างกว้างขว้าง ในกลุ่มเศรษฐานะระดับปานกลาง ซึ่งร้อยละ 54 ให้เด็กอยู่ในรถหัดเดินช่วงอายุ 26 ถึง54 สัปดาห์ ดังนั้นเด็กที่อยู่ในรถเข็นอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อวัน มากว่า 28 สัปดาห์ (รวม 392 ชั่วโมง) จึงจัดอยู่ในกลุ่มเด็กที่มีปัญหาคลานตามการศึกษาครั้งนี้

จากประสบการณ์ทางคลินิก พบเด็กจำนวนมากที่เข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัด เพื่อแก้ไขปัญหาการจับและการควบคุมดินสอ โดยผู้ปกครองมักให้ข้อมูลพื้นฐานว่าเด็กมีการข้ามขั้นพัฒนาการคลาน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงให้ความหมายการจับดินสอ (pencil grasp) ที่มีประสิทธิภาพคือ การจับที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพที่สุดในการทำงาน (functional) เช่น การจับสามนิ้วโดยใช้ปลายนิ้วเคลื่อนไหว (dynamic tripod pinch) และการควบคุมดินสอ (pencil control) คือ ความละเอียดในการปรับแต่งของมือและนิ้ว ในการจับดินสอ เพื่อเขียนอย่างมีสหสัมพันธ์ (coordinated) มีความราบรื่น (smooth manner) ซึ่งต้องอาศัยความสมารถในการควบคุม (manipulation) และความคล่องแคล่วแม่นยำ (dexterity) ของมือ

คำถามที่เป็นเป้าหมายสำหรับงานวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการลดลง หรือหายไปของการคลาน มีผลต่อพัฒนาการทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก (fine motor skill) ของเด็กหรือไม่ โดยเฉพาะในด้านการจับและการควบคุมดินสอ (pencil grasp and control) วัตถุประสงค์แรกของการศึกษาคือหาความแตกต่างในด้านคุณภาพของการจับดินสอในเด็กกลุ่มที่คลานและไม่คลาน โดยใช้แบบสังเกตการณ์จับดินสอ (pencil grasp observation form) และวัตถุประสงค์ของที่สองเพื่อค้นหาความแตกต่างในด้านคุณภาพของการควบคุมดินสอ (pencil control) ในเด็กกลุ่มที่คลานและไม่คลาน โดยใช้หัวข้อสหสัมพันธ์ตาและมือ (eye-hand coordination subtest) ของแบบทดสอบการรับรู้ทางด้านสายตา Developmental Test of Visual Perception (DTVP-2)

ปัจจุบันยังไม่พบงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการคลาน การจับและควบคุมดินสอ ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้จึงอธิบายความเชื่อมโยงของการคลาน ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์ประกอบทักษะการใช้มือ (hand function) โดยเฉพาะเจาะจงไปที่องค์ประกอบ (component) ที่จำเป็นสำหรับการจับและการควบคุมดินสอ ซึ่งได้แก่ด้านความมั่นคงของข้อต่อส่วนกลาง (proximal joint stability) การเคลื่อนไหวของข้อต่อส่วนกลาง (proximal join mobility) ความโค้งของของฝ่ามือ (arches of the hand) การแยกส่วนทำงานของมือทั้งสองฝั่ง (motoric separation of the two side of the hand) และการเปิดของช่องระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ (open web space) และการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ (thumb movement)น  

ข้อต่อส่วนต้นที่มั่นคง (Proximal joint stability): พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กขึ้นอยู่กับการทำงานประสานกันของข้อต่อส่วนบนทั้งหมด รวมไปถึงไหล่-หน้าอก, ข้อต่อหัวไหล่ ข้อศอกและข้อมือ ข้อต่อส่วนต้นทุกข้อต้องเป็นฐานที่มั่นคงเพื่อช่วยข้อต่อส่วนปลายในการควบคุมให้ได้มากที่สุด ข้อต่อส่วนต้นของหัวไหล ข้อศอกและข้อมือ จึงจำเป็นสำหรับทักษะของนิ้วมือและความแม่นยำในการใช้มือ ระหว่างกระบวนการคลาน พัฒนาการของกล้ามเนื้อแขนและข้อต่อส่วนปลาย

ข้อต่อส่วนต้นสำหรับการเคลื่อนไหว (Proximal joint mobility): ข้อต่อทุกข้อควรเคลื่อนไหวอย่างเป็นอิสระตามวัย ร่วมกับการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม กล้ามเนื้องอนิ้วจะค่อยๆ เพิ่มความยาวพาดผ่านข้อมือไปจนถึงฝ่ามือเมื่อเด็กทารกตั้งท่าคลานและโยกตัวไปข้างหน้า, การเตรียมตัวของข้อมือเพื่อเคลื่อนไหวเหยียดไปจนสุดช่วงการเคลื่อนไหวนั้นจำเป็นที่จะต้องดึงกล้ามเนื้อให้เหยียด, การช่วยเหลือของความสามารถของมือสำหรับการจับสิ่งของขนาดเล็ก เช่น ดินสอ (ที่รู้จักกันในกระบวนการ tenodesis หรือการกระดกข้อมือ) การเหยียดสุดของข้อมือบางครั้งก็จำเป็น, ขึ้นอยู่กับมุมองศาและพื้นผิวบริเวณที่ทำการเขียน

ส่วนโค้งของข้อมือ (Arches of hand): แนวขวางสองแนว, แนวยาวสี่แนวและแนวเฉียง 4 แนว เป็นส่วนประกอบทางภายวิภาคของมือ ส่วนโค้งของมือมีความสำคัญสำหรับ (a) รูปแบบของการจับแบบต่างๆและขนาดของวัตถุที่จับ (b) การควบคุมทิศทางทักษะการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ, และ (c) การปรับแรงในการถือสิ่งของ (พบในการจับและควบคุมดินสอ) ส่วนโค้งฝ่ามือตั้งแต่ส่วนต้นสำหรับควบคุมในมือไปจนถึงส่วนปลายที่ควบคุมนิ้ว การคลานและการส่งผ่านน้ำหนักเป็นองค์ประกอบที่ช่วยในการส่งผ่านไปยังมือ ซึ่งนำไปสู่พัฒนาการของส่วนโค้งฝ่ามือ การโยกตัวไปข้างหน้าและข้างหลัง ในถ้าตั้งคลานสี่ขาช่วยทรงเสริมพัฒนาการของส่วนโค้งแนวยาวของมือ การส่งผ่านน้ำหนักจากด้านข้างนำไปสู้การพัฒนาการของแนวขวางและแนวเฉียงของส่วนโค้งของมือ

การแยกการทำงานขอมือทั้งสองข้าง (Motoric separation of the two sides of the hand): การปรับแต่งของทักษะการทำงานในด้าน radial ของมือจะประสบความสำเร็จมากที่สุดเมื่อด้าน ulnar ของมือนั้นอยู่ในท่าที่มั่นคง เมื่อนิ้วนางและนิ้วก้อยงอต้านกับฝ่ามือหรืออยู่ในท่าเหยียด, รวมกับการกางของนิ้วก้อย จะช่วยให้เกิดความมั่นคงในโค้งแนวขวางของกระดูกฝ่ามือและจำกัดการควบคุมนิ้วชี้และนิ้วกลาง ด้วยการแยกนี้

Methodology

การวิจัยนี้ออกแบบการศึกษาเป็นสองกลุ่ม  คือ  กลุ่มเด็กที่ข้ามขั้นพัฒนาการคลาน  เปรียบเทียบกับกลุ่มเด็กที่คลานตามพัฒนาการ  เพื่อหาความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้ ระหว่างการคลาน กับการจับและการควบคุมดินสอ โดยกลุ่มเด็กที่คลานและเด็กที่ข้ามขั้นพัฒนาการคลาน มีการควบคุมของ เพศ และ อายุ จริยธรรมการดําเนินการที่ได้รับจากคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ที่มหาวิทยาลัย Witwatersrand

ขึ้นอยู่กับความสะดวกในเรื่องการเดินทาง ค่าใช้จ่าย และเวลา เด็ก 29 คนก่อนวันเรียนและวัย ประถมในพื้นที่ ซึ่งเป็นตัวแทนของสังคมชนชั้นกลางมีประชากรในเขตเมืองภาคเหนือ โจฮันเนสเบิร์ก โรงเรียนจะเป็นผู้คัดเลือก ถ้าพวกเขาเต็มใจที่จะเข้าร่วม ซึ่งเด็กได้เกรด 0 หรือ อาร์ในห้องเรียน หรือเด็กที่มีปัญหาในการใช้ดินสอและการทำกิจกรรมกระดาษ  แบบฟอร์มข้อมูลผู้ปกครองยินยอมและส่งแบบสอบถามไปให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลทั้งหมด 1200 คน ในเด็กที่อายุ 5 ถึง 6 ปี ใน 29 โรงเรียน

จุดมุ่งหมายของการตอบแบบสอบถามของ คือ ได้รับข้อมูลที่เพียงพอในการพัฒนาขั้นต้นของเด็กเพื่อแยกเด็กที่คลาน และเด็กที่ข้ามขั้นพัฒนาการคลาน คำถามที่ถูกถามครอบคลุมด้านข้อมูล เช่น Did your child crawl, for how long? , Was there anything strange about your child’s crawling? , Did he/she use a walking ring/jolly jumper?

มีจำนวนเด็กที่ข้ามขั้นพัฒนาการคลาน เข้าร่วมเป็นจำนวนน้อย เพราะมีการให้นิยามการข้ามขั้นพัฒนาการคลานที่แตกต่างกัน  จึงมีการแยกประเภทของการข้ามขั้นพัฒนาการคลานไว้ดังนี้

  • คลานไม่ถึงสองเดือน
  • หลีกเลี่ยงล้มลุกคลุกคลาน
  • " ไม่ชอบ " คลาน
  • ต้องการ กระตุ้น มากหรือตลอดเวลา
  • แสดงปัญหาในการคลาน
  • ใช้รูปแบบการเคลื่อนไหวแปลกๆ ตัวอย่าง sideways, on the back or stomach;
  • คลานไม่ได้ เกิดขึ้นจากการลงน้ำหนักทั้งสี่จุด
  • การลากเท้า (bum shuffling)มากกว่า การคลาน ในการเคลื่อนย้าย(locomotion)
  • การใช้อุปกรณ์ เช่น a jolly jumper or walking ring สำหรับมากว่า 2 ชม. ต่อวัน

แม้จะมีความจริงว่าบางส่วนของสิ่งเหล่านี้ ของเด็กที่มีข้อจำจัดในการคลาน Limit extent หรือการเคลื่อนไหวแบบ “crawl-like” ทั้งหมดของ locomotion จัดเป็นหมวดหมู่ที่ข้ามขั้นพัฒนาคลานของการศึกษาในครั้งนี้ ในทางตรงข้าม เด็กจะอยู่ในกลุ่มคลาน เมื่อเด็กคลานตั้งแต่สองเดือนขึ้นไปหรือมากกว่า ใช้ทั้ง 4 จุดในการคลานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ไม่มีความเชื่องช้าในการคลาน ไม่มีการลากเท้า (bum shuffling) ในการคลานเป็นเวลานาน ไม่มีการใช้  Jolly jumper หรือ walking ring เป็นเวลานานหรือใช้อย่างสม่ำเสมอ (มากกว่า 2 ชั่วโมง ต่อวัน)

จากเด็กจำนวน 30 คนที่ข้ามขั้นพัฒนาการคลาน ที่คัดเลือกจาก 268 แบบฟอร์ม ถูกจับคู่กับเด็กจำนวน 30 คน ที่คลาน ซึ่งมีข้อกำจัดคือ เพศ และวันเกิด มีเด็กจำนวน 60 เปอร์เซนต์ ที่ถูกประเมินโดยผู้วิจัย มีการประเมินในโรงเรียนของเด็ก ในห้องที่มีความเหมาะสมในการทดสอบ เพื่อลดตัวแปรในการทดสอบ

  • เด็กแต่ละคนจะใช้ดินสอที่เหมือนกัน
  • ใช้แบบทดสอบที่เหมือนกันในเด็กทั้งหมด
  • ขนาดโต๊ะที่ถูกต้องสำหรับ เด็กอายุ 5 -6 ปี เช่น เข่างอ 90 องศา เท้าวางราบกับพื้นทั้งสองข้าง ความสูงของโต๊ะไม่สูงเกินไป และรองรับข้อศอกในแนว 90 องศา
  • ห้องที่ไร้ต่อเสียงรบกวน  มีแสงสว่างเสียงพอ มีการระบายอากาศ วัสดุในการทดสอบเตรียมไว้ล่วงหน้าโดยผู้วิจัย เช่น ดินสอที่คมและคู่มือการทดสอบ

เด็กจะถูกทดสอบ 1 ต่อ 1 โดยผู้วิจัยและการทดสอบจะใช้ภาษาที่เด็กคุ้นเคยเครื่องมือแรกที่ใช้ในการทดสอบคือ แบบประเมิน DTVP-2 เป็นแบบประเมิน  visual perceptual และ  visual- motor  ประกอบด้วย 8 subtest คือ Eye-hand coordination, position in space, copying, figure ground, spatial relations, visual closure, visual motor speed และ form constancy  ซึ่งใน 8 subtest  จะมีความยากง่ายไม่เท่ากัน และสุดท้ายจะนำมาคิดคะแนนรวม

การประเมินการควบคุมดินสอ คือ Eye-hand coordination subtest ในแบบประเมิน DTVP-2 ซึ่งมีข้อจำกัดในการทดสอบคือแม้ว่าจะถูกต้องและเชื่อถือได้สำหรับการทดสอบ eye-hand coordination แต่มันไม่ได้ออกแบบมาเฉพาะเพื่อการทดสอบการควบคุมดินสอ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบค่ามาตรฐานกับแบบทดสอบอื่นในทางกิจกรรมบำบัด  DTVP-2 จะมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่าซึ่ง มีเกณฑ์วัดการควบคุมดินสอระหว่างเส้นบรรทัดที่ชัดเจน

ประการที่ 2 การสังเกตการจับดินสอจากระดับขั้นพัฒนาการ  สำหรับการศึกษานี้ จะสังเกตตามลักษณะการจับดินสอ ซึ่งจะใช้การสังเกต แบบ Benbow pencil grasp observation ทั้งหมด แบบฟอร์มนี้จะถูกใช้เพื่อระบุความมีประสิทธิภาพ (2 คะแนน) และไม่มีประสิทธิภาพ (0 คะแนน) ในการจับดินสอขณะที่เด็กทำการทดสอบโดยแบบประเมิน DTVP-2

Results and Discussion

จำนวน 1200 แบบฟอร์มที่ส่งไป 29 โรงเรียน และผู้ปกครองของเด็กจำนวน 268 คน ที่ตอบแบบสอบถาม และให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับเด็กของพวกเขาจะเข้าร่วมในการศึกษาให้อัตราการตอบกลับ 22.3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยของการศึกษา

จำนวน 60 คนจาก 268 คนที่ตอบกลับแบบสอบถาม  ( 30 คนที่คลานและ 30 คนที่ไม่คลาน) มี 43.3%  ที่เป็นผู้ชาย  มี 34 คน (56.7%)  ที่มีอายุ 5 ปี และ มี 26 (43.3%) ที่มีอายุ 6 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นในตารางที่  1

เนื่องจากตัวอย่างมีกระจายอยู่ทั่วไปในแง่ของทั้งสองตัวแปรวิเคราะห์ข้อมูล การกระจายของชนิดต่างๆ ที่ระบุไว้ในโปรแกรมรวบรวมข้อมูลแสดงดังตารางที่ 2

เปอร์เซ็นต์ของโหมดที่แตกต่างกันของการเคลื่อนไหวจากการสังเกตเด็กที่ไม่คลาน ( ตารางที่ 2) พบว่าลดลง แต่ไม่แตกต่างโดดเด่นจากการวิจัยอื่นๆ ในกลุ่มของเด็กที่ไม่คลาน พบว่า ร้อยละ 12  ของเด็กที่ไม่คลานเลย  ยืนขึ้น และเดิน 9% bum shuffled  4% ใช้รูปแบบอื่น 7.1%

ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 23 คน ( 8.3 % ) ใน 60 คน ใช้อุปกรณ์เสริมของเด็ก  เช่น  jolly  jumpers  และ  walking rings  เมื่อเป็นทารก  ผู้ปกครองจะใช้คำว่า " มาก ", " รายวัน " ," มักจะ " , " 4 – 5 ชั่วโมง " , " ช่วงบ่าย " และ " เสมอ " พบว่าเครื่องมือเหล่านี้มักจะใช้ ในแบบสอบถามถูกจำกัดในการเก็บรวบรวมและการตีความที่เป็นไปได้ของข้อมูลนี้เป็นไม่ตัวเลือกที่ชัดเจน ดังนั้น ข้อมูลมีความยากลำบากในการจัดกลุ่มตามคำตอบที่ได้รับ  เพื่อวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง ในการใช้ของ Jolly jumpers  และ  walking rings  แสดงในตารางที่ 3

เกือบสองเท่าเป็นโปรแกรมตรวจพบว่าเด็กไม่คลาน ใช้อุปกรณ์เสริมบ่อย ซึ่งการศึกษาบ่งชี้ว่า การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว ผลเกี่ยวกับการจับดินสอจะแสดงในตารางที่ 4

เด็ก 14 คน ( 82.4 % ) การจับดินสอไม่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นเด็กที่ไม่คลาน ซึ่งพบแค่ 3 คน เท่านั้นที่มีการจับดินสอไม่มีประสิทธิภาพ แต่คลานเมื่อยังเป็นทากรก

 

พบว่า สัดส่วนของเด็กที่มีปัญหาในการจับดินสอของโปรแกรมมีนัยสำคัญน้อยกว่า ( P = 0.003 ) มากกว่าของ เด็กที่ไม่คลาน  ( 10.0 และร้อยละ 46.7 ตามลำดับ ) อัตราส่วนการคลานที่ส่งผลต่อ การจับดินสอเป็น 7.88 , เช่น ความเสี่ยงของการจับดินสอที่ไม่มีประสิทธิภาพเป็นโปรแกรมไม่ 7.88-fold เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับโปรแกรมตรวจสอบและความเชื่อมั่น 95%ช่วงเวลา ( 1.96 ; 31.68 )

ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าอาจจะมีการเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างเด็กที่ไม่คลานกับการพัฒนาของการใช้มือ การจับดินสอได้อย่างมีประสิทธิภาพ เด็กที่ไม่คลาน หรือแสดงอาการที่ผิดปกติ ปรากฏว่ามีรูปแบบจับดินสอ ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า เหตุผลนี้อาจเป็นการเคลื่อนไหวพื้นฐาน เป็นพัฒนาการการเคลื่อนไหว หากพัฒนาไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลต่อการจับดินสอ

การสังเกตการควบคุมดินสอและ การใช้  DTVP2 ใน eye-hand coordination subtest ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเด็กที่ไม่คลานและเด็กที่คลาน มันถูกคาดว่าเด็กที่ไม่คลานจะมีคะแนนที่น้อยกว่าเด็กที่คลาน ใน eye-hand coordination subtest ซึ่งในหัวข้อนี้ จะต้องมีการจัดการและความคล่องแคล่วในการควบคุมดินสอ ดังนั้น  eye-hand coordination subtest ของแบบประเมิน DTVP2 อาจจะไม่ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการประเมินการควบคุมดินสอและพิสูจน์แล้วว่าเป็นข้อจำกัดของการศึกษา นอกจากนี้การทดสอบ eye-hand coordination ของแบบทดสอบอื่นๆ  เช่น Beery Buktenica Test of Motor Coordinations หรือ motor accuracy subtest (MAC) of the Sensory Integration PostrotaryNystagmus Test (SIPT)  จึงขอแนะนําเครื่องมือเหล่านี้ควรได้รับการพิจารณาในอนาคตเพื่อการวิจัยในด้านนี้โดยเฉพาะ

เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ทางสายตาและการคลาน การวิเคราะห์ผลแบบทดสอบย่อย พบว่า มีความสัมพันธ์ในเชิง subtestเท่านั้น แต่ละ subtestมีความแตกต่างในกลุ่มคลานและไม่คลาน( p = 0.04 ) ในเด็กกลุ่มที่คลานจะมีคะแนนสูงกว่าเด็กที่ไม่คลาน  p-values มีค่า p=0.08ถึง  p=0.79 ซึ่งจะสรุปได้ว่า visual, proprioceptive, tactile และ vestibularที่เด็กได้รับเข้ามาในขณะที่คลาน อาจจะเกี่ยวข้องกับ ความแตกต่าง ของเด็กที่คลานและเด็กที่ไม่คลาน ใน subtest ของ DTVP2 ที่แสดงในตาราง V

คะแนนรวมของ dtvp-2 เปรียบเทียบกับเด็กทั้งสองกลุ่ม โดยใช้ t-test และ Mann Whitney พบว่า เด็กที่คลานมีคะแนนสูงกว่า เด็กที่ไม่คลาน ใน 3 การรวมคะแนน  (i) the general visual perception

quotient (GVPQ)  จากการรวมคะแนนจากทั้ง 8  subtest ของ DTVP2(ii)  the motor-reduced visual perception quotient (MRVPQ),(iii) the visual-motor integration quotient (VMIQ)

ตารางที่ VI แสดงคะแนนรวมของ DTVP2 จากเด็กที่คลาน และเด็กที่ไม่คลาน และผลการศึกษาพบว่า การคลานอาจจะเป็นการเล่นที่สำคัญของพัฒนาการการรับรู้ทางสายตา ความสัมพันธ์ที่เพิ่มมากขึ้นจากการสังเกตซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของแม็กอีแวน

แม้ว่าจะมีคำถามถามว่า การขาดทักษะการรับรู้ทางสายตา แม้ว่าจะถือเหตุผลทำให้เด็กบางคนไม่

คลานและไม่สามารถแก้ไขได้  ซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์กันแต่ต้องตีความด้วยความระมัดระวัง และควรศึกษาเพิ่มเติม

 

Conclusion and Recommendations

ผลการศึกษาพบว่า อาจมีความเชื่อมโยงระหว่างการข้ามคลานและจับดินสอในเด็กที่มีอายุ 5- 6 ปี เด็กที่คลานจะมีประสิทธิภาพในการจับดินสอมากกว่าเด็กที่ไม่คลาน แม้ว่าจะไม่พบความแตกต่างในการทดสอบ coordination test จากการสังเกตการควบคุมดินสอ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในหัวข้อดังกล่าว การค้นพบที่ไม่คาดคิด แม้เกินขอบเขตของต้นฉบับการศึกษา คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง การข้ามคลานและ พัฒนาการของการรับรู้ทางสายตา  เด็กที่คลานจะมีคะแนนรวมที่สูง ในการทดสอบโดย  DTVP 2

ข้อจำกัดของการศึกษา ประการแรกคือ การให้นิยามจำกัดความ (definition) และการจัดกลุ่ม (categorization) ของเด็กที่ข้ามคลาน นั้นค่อนข้างยาก และมีการรวมเด็กที่มีลักษณะการคลานที่แตกต่าง (atypical) เข้าไปเพื่อเพิ่มขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ประการที่สอง การประเมินการจับดินสอไม่ได้ใช้แบบประเมินมาตรฐาน ประการที่สาม การควบคุมดินสอถูกประเมินตามความหมายในหัวข้อทดสอบสหสัมพันธ์ของตาและมือ (eye-hand coordination subtest) ด้วยแบบประเมิน  DTVP-2 ซึ่งอาจไม่ตรงกับความหมายของการควบคุมดินสอ (pencil control) จากข้อจำกัดเหล่านี้นำไปสู่คำถามว่าผู้วิจัยต่อไปควรให้ความสำคัญกับความหมายของปัญหาการควบคุมดินสอ และควรใช้หลายแบบทดสอบร่วมกันในการประเมินการควบคุมดินสอ

การวิจัยครั้งนี้ก็เหมือนกับหลายๆวิจัย  ที่มีคำถามมากกว่าคำตอบ ซึ้งถูกสร้างขึ้นโดยการตรวจสอบหาความจริง  วิจัยเพิ่มเติม แนะนำให้ ผู้ปกครอง และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ และทางด้านการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความสำคัญของการรวบรวมข้อมูล ว่าทำไมเด็กไม่คลาน ผลของการคลาน  ที่สัมพันธ์กับพัฒนาการด้านอื่นๆ ของเด็ก รวมถึงการระบุปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการคลาน และควรมีการพัฒนาเครื่องมือมาตรฐานในการทดสอบการจับ และการควบคุมดินสอ และแนะนำให้พิจารณาข้อดี และข้อเสียของการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน (เช่น รถหัดเดิน และ jolly  jumpers) ที่ขัดขวางพัฒนาการคลานของเด็ก รวมถึงการกระตุ้นคลานด้วยวิธีการต่างๆ ด้วย

 

เรียบเรียงโดย Mind Brain & Body กรกฎาคม 2558

อ้าวอิงจากงานวิจัย The association of omitted crawling milestone with pencil grasp and control in five-and six-year-old children ของ Magrieta Maria, SA Journal of Occupational Therapy August 2010

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view