http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม1,009,242
เปิดเพจ1,229,574

ให้ลูกเริ่มเรียนเร็วอาจทำให้ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคสมาธิสั้น

ให้ลูกเริ่มเรียนเร็วอาจทำให้ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคสมาธิสั้น

ให้ลูกเริ่มเรียนเร็วอาจทำให้ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคสมาธิสั้น

Starting School Early May Affect ADHD Diagnosis

 

                นักวิจัยหลายคนพบว่าเด็กนักเรียนที่อายุน้อยที่เริ่มเข้าเรียนเร็วอาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับการวินิจฉัยและการรักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD)  มากกว่าเด็กกลุ่มที่อายุมากว่าในชั้นเรียน

Richard Morrow, MA แห่งมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย และเพื่อนร่วมงาน (The University of British Columbia in Victoria, and colleagues) กล่าวว่า เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงที่เกิดในเดือนก่อนกำหนดตัดเกณฑ์อายุเพื่อเข้าเรียนชั้นอนุบาลจำนวน 30% มีแนวโน้มที่จะได้รับการวินิจฉัยเป็นสมาธิสั้น (ADHD) และ 41% ของเด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะได้รับยารักษาอาการสมาธิสั้น มากกว่ากลุ่มเด็กที่เกิดในเดือนหลังกำหนดการตัดเกณฑ์อายุ

รายงานวิจัยออนไลน์ใน CMAJ พบว่าเด็กที่เกิดในเดือนก่อนที่จะมีการตัดเกณฑ์อายุเพื่อเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 70% มีแนวโน้มที่จะได้รับการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น และ 77% มีแนวโน้มที่จะได้รับยารักษาอาการสมาธิสั้น 

                แม้ว่าความเหมาะในการวินิจฉัยและการรักษาของแพทย์นั้นไม่ควรได้รับการวิจารณ์ แต่ทว่าความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการวินิจฉัยโรคเกินจริง (overdiagnosis) และการสั่งยาเกินความจำเป็น(overprescribing) ในเด็กเล็กหรือเด็กที่วุฒิภาวะยังไม่พัฒนาจนเต็มที่ในการเริ่มเรียนหนังสือ

                Morrow และคณะ ให้ความเห็นว่า เด็กที่จะได้รับยารักษาโรคสมาธิสั้นกำลังเผชิญกับผลกระทบต่อปัญหาการนอนหลับ ความอยากอาหาร และภาวะการเจริญเติบโต และยังตั้งข้อสังเกตถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular) แม้ว่าการเชื่อมโยงดังกล่าวจะได้รับการโต้แย้งในการศึกษาที่เผยแพร่เมื่อปีที่แล้วใน  Pediatrics  และวารสารการแพทย์ New England Journal of Medicine. ก็ตาม

                การวินิจฉัยที่ไม่เหมาะสมของเด็กสมาธิสั้น (Inappropriate diagnosis of ADHD )  ที่เกิดในช่วงปลายปีตัดเกณฑ์ก่อนเข้าเรียน อาจทำให้ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กในวิธีการที่แตกต่างจากคนอื่น ซึ่งส่งผลต่อการรับรู้ตัวตนของเด็ก (self-perceptions) การวิเคราะห์ของเราจึงให้น้ำหนักไปที่ปัญหาทางการแพทย์  (medicalization) ด้านพฤติกรรมของเด็กในหนึ่งช่วงอายุ โดยเฉพาะเด็กผู้ชาย

                การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนหน้านี้ก็พบความว่าคล้ายกัน แต่ยังไม่พบการสำรวจนี้ในประเทศแคนนาดา ที่มีรายงานการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นและการรักษาทางยาที่ต่ำ และมีความแตกต่างในด้านการดูแลสุขภาพ วัฒนธรรมค่านิยม และการทำตลาดของบริษัทยา

                Morrow และคณะ ทำการศึกษาเรื่องนี้โดยใช้ของมูลทางด้านสุขภาพจาก British Columbia ที่ตัดเกณฑ์อายุการเข้าเรียนในชั้นอนุบาลและประถมศึกษาปีที่หนึ่งในวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้น เด็กที่เกิดในเดือนธันวาคมจะเป็นเด็กกลุ่มที่อายุน้อยที่สุด และเด็กที่เกิดในเดือนมกราคมจะเป็นเด็กกลุ่มที่มีอายุมากที่สุดในชั้นเรียน

                การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยเด็กจำนวน 937,943 คน อายุระหว่าง 6 ถึง 12 ปี ที่เกิดในช่วงวันที่ 1 ธันวาคม 1997 ถึง 30 พฤศจิกายน 2008 และอยู่ในแผนคุ้มครองสุขภาพโดยรัฐ อายุเฉลี่ยของเด็กที่เกิดในเดือนธันวาคมและผู้ที่เกิดในเดือนมกราคม   มีความคล้ายกัน (7.8 ปี)

                เมื่อเอาข้อมูลของเด็กอายุต่างๆ มารวมกันพบว่าร้อยละของเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นเพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนเกิดมกราคม ถึงกันยายนจากนั้นอยู่ในอัตราคงที่ เด็กผู้ชายที่เกิดในเดือนมกราคมมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.7 ถึงร้อยละ 7.4 ในคนที่เกิดเดือนธันวาคม และเด็กผู้หญิงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.6 เป็นร้อยละ 2.7 ซึ่งมีความคลายคลึงกับเด็กสมาธิสั้นที่ได้รับการจ่ายยา (medication prescriptions)

                เด็กที่เกิดในเดือนธันวาคมเปรียบเทียบกับเดือนมกราคมมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะได้รับการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นทั้งเด็กชาย (RR 1.30) และเด็กหญิง (RR 1.70) รวมถึงความเสี่ยงมากขึ้นที่จะได้รับการรักษาตามอาการ (RRs 1.41 และ 1.77 สำหรับชาย และหญิงตามลำดับ)

ตลอดช่วงเวลาการศึกษาครั้งนี้ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ นั้นมีความคงที่ และเป็นตัวแทนของทุกช่วงอายุ โดยเพศหญิงจะมีความสำคัญลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม

ความน่ากลัวของการวินิจฉัยโรคเกินจริง (overdiagnosis) การสั่งจ่ายยาเกินความจำเป็น(overprescribing) และขาดหลักฐานยืนยันที่ชัดเจนในการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นนั้น  Morrow และคณะ ยืนยันว่าควรระมัดระวังอย่างมากก่อนการวินิจฉัยและให้การรักษา และยังเสนอว่าควรให้ความสำคัญกับการสังเกตพฤติกรรมของเด็กเวลาไม่ได้อยู่ในโรงเรียนจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้ และแนะนำว่างานวิจัยในอนาคตควรศึกษาถึงหลักการประเมินทดสอบและให้การรักษาเด็กสมาธิสั้นในกลุ่มเด็กที่อยู่ในระดับชั้นเรียนเดียวกัน

               

***สำหรับประเทศไทยนั้นบางโรงเรียนมักเร่งให้เด็กอนุบาลอ่านและเขียน ซึ่งหากวุฒิภาวะด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาธิ หรือการทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ ของเด็กยังไม่พร้อมก็จะยิ่งทำให้เด็กมีความยากลำบากในการทำงานให้เสร็จตามที่ได้รับความคาดหวัง เด็กอาจแสดงพฤติกรรมคล้ายเด็กสมาธิสั้นออกมา เช่น นั่งนิ่งๆ ทำงานไม่สำเร็จ ทำงานช้าขาดประสิทธิภาพ หงุดหงิด งอแงเวลาทำการบ้าน ซึ่งหากผู้ปกครองตระหนักว่าพัฒนาการะบบประสาทด้านต่างๆ ของเด็กอาจไม่พร้อมสำหรับความคาดหวังของชั้นเรียนอาจต้องพิจารณาในเรื่องลูกเริ่มเรียนเร็วเกินไปหรือไม่ ระบบโรงเรียนเร่งเรียนวิชาการเร็วเกินไปหรือไม่ หรือต้องหาทางช่วยพัฒนาความพร้อมพื้นฐานด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นหรือไม่

 

แหล่งที่มา www.medpagetoday.com/pediatrics/adhd-add/31489  by Todd Neale

งานวิจัยอ้างอิง www.cmaj.ca/content/early/2012/03/05/cmaj.111619.abstract

แปลและเรียบเรียงโดย ครูแหม่ม ครูต้น (นักกิจกรรมบำบัด) Mind Brain & Body กันยายน 2559

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view