http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม1,009,266
เปิดเพจ1,229,598

พัฒนาการคลาน

พัฒนาการคลาน

Crawling : พัฒนาการคลาน 

September 30 2011


เด็กเรียนรู้การเคลื่อนไหวเพื่อสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาการ โดยเริ่มต้นจาก การกลิ้งตัว เตะสับขา การนั่ง และการใช้ท่าการเคลื่อนไหวต่างๆ ในการเอื้อมหยิบจับสิ่งของ ธรรมชาติของความอยากรู้อยากเห็นและการสำรวจสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เด็กพัฒนาการเคลื่อนไหว ประมาณช่วงอายุ 6-8 เดือน เด็กจะเริ่มเรียนรู้การทรงท่าสี่ขา โดยใช้มือและเข่ายันพื้น แล้วเริ่มโยกหรือเอนตัวไปด้านหน้าและด้านหลัง จากนั้นขยับแขน หรือขา เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่พัฒนาการคลาน ซึ่งปกติมักเริ่มเกิดขึ้นประมาณช่วง 9-10 เดือน แต่ในเด็กบางคนที่ไม่คลาน จะมีวิธีการแสวงหาเคลื่อนไหวด้วยตนเองโดยวิธีการที่แตกต่างไป เช่น การนั่งถัดก้น (shuffling) หรือใช้การคืบแทน (sliding on their tummies)

The Importance of Crawling : ความสำคัญของการคลาน
ขณะที่เด็กคลาน เด็กจะเรียนรู้ที่จะเคลื่อนไหวเพื่อสำรวจสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง จึงทำให้เด็กเกิดการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง (sense of independence) สามารถเลือกได้ว่าจะไปในทิศทางใด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทักษะการตัดสินใจที่อยู่บนพื้นฐานของการเคลื่อนไหว รวมถึงการพัฒนาทักษะวางแผนการเคลื่อนไหว (motor planning) กล้ามเนื้อต่างๆ มีความเข็งแรงมากขึ้นและเตรียมความพร้อมสำหรับการเดิน และมีการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายร่วมกันเพื่อพัฒนาสหสัมพันธ์ระหว่างร่างกายทั้งสองซีก (bilateral co-ordination)
การคลานนั้นถูกมองว่ามีความสำคัญต่อลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กในแง่การพัฒนาสมอง บางมุมมองมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่อาจมีความสัมพันธ์ระหว่างการคลานและปัญหาการอ่าน-เขียน (dyslexia) ปัญหาสหสัมพันธ์ของร่างกายสองซีก (poor co-ordination) ปัญหาสมาธิสั้น (ADHD) และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ของเด็ก แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนจนยืนยันได้ว่าเด็กไม่คลานจะทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ แต่ทว่า ถ้าเด็กมีการหลงเหลืออยู่ของปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั้งเดิม (retained infantile reflexes) เช่น the symmetric tonic neck reflex (STNR) จะทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา ซึ่งรวมถึงปัญหาความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ (learning difficulties) และปฏิกิริยาสะท้อนกลับตัวนี้ก็เป็นต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กมีความยากลำบากในการพัฒนาการคลาน

Benefits of Crawling: ประโยชน์ของการคลาน
การคลานนั้นมีประโยชน์ต่อพัฒนาการระบบประสาทในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการยืนทรงท่า การเดิน และการวิ่ง โดยเด็กจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะยกลำตัวขึ้นมาอยู่ในท่า 4 จุดตั้งคลาน (all fours) และพยายามควบคุมการทรงท่า เพื่อพัฒนาการจัดแนวกระดูดสันหลัง (align the spine) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง สะโพก และหัวไหล่
ด้วยเหตุนี้ การคลานนั้นยังเป็นปัจจัยที่มีประโยชน์หลายอย่างทางด้านสังคม อารมณ์ การเคลื่อนไหว ความรู้ความเข้าใจ (cognitive) และการรับความรู้สึก โดยขณะที่คลานนั้น เด็กจะเรียนรู้วิธีการสื่อสารรูปแบบใหม่กับผู้ปกครอง เด็กสามารถค้นหาได้ว่าเราอยู่ที่ไหน ซึ่งเป็นการพัฒนาที่สำคัญสำหรับการรับรู้ตนเอง (self identity) และเพิ่มความสามารถของตนเอง (independence) เด็กสามารถสำรวจระยะห่างของสิ่งของต่างๆ และพัฒนาทักษะการรับรู้ทางด้านสายตา (visual perception)
การคลานยังช่วยพัฒนาการทรงท่า ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tone) และสหสัมพันธ์ของตาและมือ (eye-hand co-ordination) ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากเมื่อถึงวัยที่ต้องอ่าน และเขียน รวมถึงการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวต่างๆ ในอนาคต อีกทั้งการบูรณาการเคลื่อนไหวระหว่างร่างกายทั้งสองซีก (bilateral integration) ร่วมกันของมือ ขา ตา และหู ก็มีพื้นฐานมาจากพัฒนาการคลาน โดยอีกความหมายหนึ่งก็คือการเพิ่มสหสัมพันธ์การทำงานร่วมกันระหว่างสมองซีกซ้ายและซีกาขวา และการคลานยังเป็นการกระตุ้นกิจกรรมการทำงานของสมอง (stimulates brain activity) เพื่อพัฒนากระบวนการการรับรู้เข้าใจ (cognitive process) เช่น การจดจ่อ (concentration) ความจำ (memory) ความเข้าใจ (comprehension) และสมาธิ (attention) ของเด็กอีกด้วย

Sensory Processing: การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมอง
การคลานนั้นทำให้เกิดการบูรณาการข้อมูลประสาทความรู้สึกต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เด็กเกิดการรับรู้สิ่งแวดล้อม รับรู้ความสัมพันธ์ของตำแหน่งช่องว่าง (spatial concepts) พัฒนาระบบการมองเห็นและการได้ยิน (visual and auditory systems) โดยขณะที่เด็กกำลังคลานจะเกิดการกระตุ้นการรับรู้ร่วมกันระหว่างหูทั้งสองข้าง และการใช้งานของตาทั้งสองร่วมกัน (binocular vision)
การคลานยังเป็นการกระตุ้นระบบรักษาสมดุลการทรงท่า (vestibular system) ที่อยู่ในหูชั้นใน และเป็นการกระตุ้นการลงน้ำหนักที่มือและเข่า ซึ่งสำคัญต่อพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก ส่วนระบบการรับสัมผัสผิวกาย (tactile sensations) นั้น จะพัฒนาการรับรู้ขณะที่เด็กเคลื่อนไหวผ่านผิวสัมผัสต่างๆ ขณะคลาน
รูปแบบการคลานนั้นอาจมีหลากหลาย เด็กบางคนอาจคลานไปข้างหน้า หรือคลานไปข้างหลัง ซึ่งถือว่าเป็นปกติ ทั้งนี้รูปแบบการคลานทั่วไปก็คือควรมีการเคลื่อนไหวแขนและขาสลับกัน (alternatively)

Helping Babies to Crawl: การกระตุ้นให้เด็กคลาน
เด็กบางคนอาจมีการพัฒนาทักษะต่างๆ แตกต่างกันไป บางคนเรียนรู้ได้ช้า บางคนเรียนรู้ได้ไว แต่ถ้าเด็กไม่แสดงความสนใจในการคลาน หรือการเคลื่อนไหวต่างๆ เพื่อสำรวจสิ่งแวดล้อม เช่นการคืบ (creeping) การนั่งถัดขา (scooting) หรือการถีบเท้าสลับขา (shuffling) เราควรกระตุ้นโดยการวางของเล่นที่เด็กกำลังสนใจให้ห่างจากตัวเด็ก หรือชวนเรียกเพื่อให้เด็กเคลื่อนตัวเข้าไปหา ในเด็กส่วนใหญ่เด็กที่มีโอกาสได้นอนคว่ำบ่อยๆ นั้น โดยธรรมชาติเด็กจะเรียนรู้ที่ดันตัวเองขึ้นเพื่อคลาน แต่ก็มีเด็กบางคนที่มีปัญหาทางระบบประสาทพื้นฐาน หรือทางร่างกายบางอย่างที่ซ่อนอยู่ (underlying physical or neurological reasons) ที่อาจทำให้เด็กไม่สามารถคลานได้ หรือบางคนปัญหาอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อม หรือปัจจัยทางด้านแรงจูงใจ

     มีของเล่นมากมายที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กสนใจคลาน หรือกระตุ้นพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก เด็กบางคนอาจต้องการการกระตุ้นจากผู้ปกครอง เช่น การจับให้เด็กเล่นอยู่ในท่านอนคว่ำบ่อยๆ หรือทำท่าคลานให้เด็กดู แต่ทั้งนี้ถ้าหากกระตุ้นจนเด็กอายุ 12 เดือนแล้วยังไม่คลาน หรือไม่เกาะยืน เดิน ควรนำเด็กไปตรวจวัดพัฒนาการ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาปัญหา
     

     ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก Mind Brain & Body มีบริการทดสอบพัฒนาการด้วยแบบประเมินต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ และวางแผนกระตุ้นพัฒนาการความสามารถตามวัยของเด็กแบบหนึ่งต่อหนึ่ง โดยนักกิจกรรมบำบัด ในห้องที่มีระบบระบายอากาศ และบุผนังด้วยฟองน้ำเต็มพื้นที่ แก่เด็กแรกเกิดถึง 24 เดือน ผู้ปกครองสนใจรับคำปรึกษา หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ครูต้น โทรศัพท์ 081-9199879 หรือ 052 001856

เรียบเรียงโดย Mind Brain & Body มิถุนายน 2558
Reference: http://occupationaltherapyforchildren.over-blog.com/article-crawling-85544642.html

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view