http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม1,009,246
เปิดเพจ1,229,578

สมาธิสั้น และแนวทางการรักษาทางกิจกรรมบำบัด

สมาธิสั้น และแนวทางการรักษาทางกิจกรรมบำบัด

Occupational Therapy for Children with ADHD

 

โรคสมาธิสั้น (ADHD) คือโรคหนึ่งที่มักได้รับการวินิจฉัยบ่อยที่สุดในเด็ก เนื่องจากทำให้เด็กมีความยากลำบากในการคงสมาธิ จดจ่อ การควบคุมตนเอง และการจัดการงานต่าง ๆ1 ปัจจุบันมีอัตราความชุกเฉลี่ยจากการศึกษาในประเทศต่างๆ (worldwide-pooled prevalence) เท่ากับ 5.29 ในประเทศไทยได้มีการศึกษาในเด็กชั้นประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่ามีความชุกของโรคสมาธิสั้นร้อยละ 5.01 ดังนั้นหากคำนวณว่าเด็กแต่ละชั้นเรียนมีนักเรียน 40-50 คน จะพบเด็กสมาธิสั้นรวมอยู่ด้วย 2 คน โดยโรคนี้พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงในอัตราส่วนประมาณ 3:12

ลักษณะอาการความผิดปกติแบ่งได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ขาดสมาธิที่ต่อเนื่อง (inattention) 2) ซนมากกว่าปกติหรืออยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) และ 3) ขาดการยั้งคิดและหุนหันพลันแล่น (impulsivity) 2

การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นเป็นการวินิจฉัยทางคลินิก โดยอาศัยเพียงข้อมูลจากซักประวัติและการประเมินอาการของผู้ป่วยตามเกณฑ์คู่มือการวินิจฉัยของ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders fourth Edition-Text Revised (DSM-IV-TR)2 โดยผู้ป่วยต้องมีอาการขาดสมาธิ และ/หรือ อาการอยู่ไม่นิ่งหุนหันพลันแล่น ที่เป็นมากกว่าพฤติกรรมตามปกติของเด็กในระดับพัฒนาการเดียวกัน เกิดขึ้นอย่างน้อย 2 สถานการณ์ขึ้นไป จนทำให้เกิดปัญหาในด้านสังคม การเรียน หรือการทำกิจกรรมตามบริบทของผู้ป่วย (occupational performance) โดยอาการดังกล่าวเริ่มปรากฏตั้งแต่ก่อนอายุ 7 ปี และไม่ได้เป็นจากโรคทางจิตเวชอื่น ๆ 2

ตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ DSM-IV-TR กำหนดให้แบ่งโรงสมาธิสั้นเป็น 3 ชนิดตามอาการเด่นของผู้ป่วย ดังนี้2

  1. กลุ่มอาการขาดสมาธิ (Inattentive subtype)
  2. กลุ่มอาการอยู่ไม่นิ่ง/หุนหันพลันแล่น (Hyperactive-impulsive subtype)
  3. กลุ่มที่พบอาการร่วมกันทั้ง 2 แบบ (Combined subtype)

 

  • การบำบัดรักษา: Treatment

การรักษาโรคสมาธิสั้นโดยทั่วไปแล้วใช้วิธีการทางยา และพฤติกรรมบำบัด ทั้งนี้ยังมีการบำบัดรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ ที่เริ่มมีงานวิจัยสนับสนุนถึงประสิทธิภาพการบำบัดรักษา ไม่ว่าจะเป็น วิตามินบำบัด สมุนไพรบำบัด โภชนาการบำบัด วิธี ไบโอฟีดแบค (Biofeedback) และวิธีการทางกิจกรรมบำบัด3


  • การบำบัดรักษาภาวะสมาธิสั้นด้วยวิธีการทางกิจกรรมบำบัด

นักกิจกรรมบำบัดมีกรอบอ้างอิง เทคนิค และวิธีการที่ใช้เป็นเครื่องมือช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น ให้สามารถควบคุมตนเองทำกิจกรรมต่างๆ ตามวัยได้ โดยกรอบอ้างอิงหลักที่ใช้ได้แก่ กรอบอ้างอิงการบูรณาการประสาทความรู้สึก (Sensory Integration) ซึ่งประกอบไปด้วย Sensory Intervention program, Self-Regulation program, Sensory Diet program9 และอีกหลักการหนึ่งที่นิยมใช้คือการฝึกทักษะการทำงานของสมองด้านการจัดการ (Executive Function) 4

 

การบูรณาการประสาทความรู้สึก (Sensory Integration) หรือ SI คือ กระบวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous system) ในการจัดการกับข้อมูลความรู้สึกที่ได้รับจากภายในร่างกาย และสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ รอบตัว และเป็นทักษะขั้นพื้นฐาน  (Foundation skill) ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ โดยกระบวนการนี้เริ่มตั้งแต่ขั้นการลงทะเบียนรับความรู้สึก (Sensory registration) การปรับระดับความรู้สึก (Sensory modulation) การบูรณาการความรู้สึก (Sensory integration)  การแยกแยะความรู้สึก  (Sensory discrimination) และปรับตัวตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยกระบวนการนี้ได้ให้ความสำคัญต่อการทำหน้าที่ของสมองตั้งแต่ Brainstem, Cerebellum, Limbic system และ Cerebral cortex8 ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานเกี่ยวกับ การควบคุมสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ (coordination)  สมาธิอารมณ์ความจำการควบคุมระดับความตื่นตัว  (arousal levels) การควบคุมการตอบสนองแบบอัตโนมัติ  (autonomic function) และเป็นส่วนที่ทำงานร่วมกับการเรียนรู้ระดับสูง (higher level cognitive functions)

 

  1.  Sensory Intervention program: คือโปรแกรมฝึกแบบรายบุคคลโดยนักกิจกรรมบำบัด มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่ม หรือปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบประสาทในการรับข้อมูลความรู้สึก8 และสามารถนำข้อมูลความรู้สึกไปใช้ประโยชน์ได้
  2. Sensory Diet program: คือโปรแกรมกระตุ้นระบบประสาทความรู้สึกด้วยอุปกรณ์ วิธีการ กิจกรรม หรือการปรับสภาพแวดล้อม เพื่อให้เด็กสามารถควบคุมระดับความตื่นตัวที่เหมาะสมในการทำงานได้ (Optimal Functioning)12 โดยเทคนิคส่วนใหญ่ที่ใช้กัน ได้แก่

         - เทคนิคการนวดกระตุ้นประสาทสัมผัส The Wilbarger Deep Pressure and Proprioceptive Technique (DPPT) เป็นเทคนิคที่พัฒนามาจากนักกิจกรรมบำบัดที่ชื่อ Patricia Wilbarger ภายใต้หลักการ Sensory Integration เพื่อลดภาวะตอบสนองที่มากเกินไปของระบบประสาท (Tactile defensive) และเพิ่มความสามารถในการควบคุมตนเอง (Self Regulation) โดยการกระตุ้นระบบรับความรู้สึกเชิงลึก (deep pressure) ผ่านแปรงพิเศษ (surgical brush) และตามด้วยการกระชับข้อต่อ (Joint compression) ทุกๆ 2 ชั่วโมง10

         - เทคนิคการกระตุ้นระบบรับความรู้สึกจากเอ็น ข้อต่อ กล้ามเนื้อ (Proprioception) ด้วยเสื้อกักน้ำหนัก (weighted vest) ผ้าห่มน้ำหนัก (weighted blankets) หรือแผ่นน้ำหนัก (weighted lap pad) จะช่วยลดการตอบสนองที่มากเกินไปของระบบประสาทความรู้สึก และทำให้เด็กสงบ6  

         - เทคนิคกระตุ้นความรู้สึกบริเวณฝ่ามือด้วยของเล่น Fidget Toy (Tool) ไม่ว่าจะเป็น Fidget Spinner, Fidget Cube, Squishy Ball, Koosh ball, Slime, Putty, Marble Fidget toys, Spiky Sensory Ring Fidget หรือ สายยางรัดข้อมือ จะช่วยให้เด็กที่มีพฤติกรรมแสวงหาข้อมูลความรู้สึก (Sensory Seeking) หรือเด็กที่มีภาวะวิตกกังวลสามารถคงสมาธินั่งจดจ่อกับงานได้

         - เทคนิคการกระตุ้นระบบรับความรู้สึกจากเอ็น ข้อต่อ กล้ามเนื้อ (Proprioception) ด้วยกิจกรรมการออกแรง Heavy work activities6 จะช่วยคงระดับความตื่นตัวที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมได้ เช่น การใช้เด็กช่วยจัดเก้าอี้ ยกของ ลบกระดาน สะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนัก ผลักกำแพงหรือเก้าอี้ (wall/chair push up) กระโดดตบ กระโดดเชือก หรือกระโดดแทรมโพลีน เป็นต้น   

         - เทคนิคการกระตุ้นประสาทสัมผัสเพื่อลดความตื่นตัว (Calm Down Activities) 5

  • Ø ประสาทการรับรส

-         ดื่มน้ำด้วยหลอด

-         ดื่มของเหลวที่มีความหนืด

-         หายใจลึกไห้ท้องป่อง

  • Ø ประสาท Vestibular/Proprioceptive system

-         เล่นกีฬา หรือเต้น

-         วิ่งขึ้นลงบันได

-         ปั่นจักรยาน

  • Ø ประสาทสัมผัสผิวกาย

-         เล่นสัมผัสสัตว์เลี้ยง

-         ล้างหน้าด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำเย็น

-         อาบน้ำอุ่น หรืออาบน้ำเย็น

  • Ø ประสาทการมองเห็น

-         ใช้หลอดไฟที่มีแสงสลัว ไม่สว่างจ้าง

-         ตกแต่งห้องด้วยสีเอิร์ธโทนธรรมชาติ

-         ใส่เสื้อผ้าด้วยสีเอิร์ธโทน

  • Ø ประสาทการได้ยิน

-         ฟังเพลงคลาสสิค Mozart

-         ใส่ที่ปิดหู Ear Muff หรือ Ear Plugs

          3. The Alert Program for Self-Regulation คือโปรแกรมการสอนให้ครู ผู้ปกครอง และเด็กเรียนรู้เข้าใจเกี่ยวกับระดับความตื่นตัวต่างๆ (arousal states) ที่สัมพันธ์กับสมาธิ พฤติกรรม การเรียนรู้ และวิธีการที่จะปรับเปลี่ยน และคงระดับความตื่นตัวที่เหมาะสมในการทำกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วย 3 ลำดับ และ 12 ขั้นตอน12

-         Stage One: บ่งชี้ระดับความตื่นตัว (Engine Speeds)

-         Stage Two: ทดลองวิธีการต่างๆ ในการปรับระดับความตื่นตัว

-         Stage Three: เรียนรู้การควบคุมระดับความตื่นตัวที่เหมาะสม (Regulating Engine Speeds)

         4. Executive Function Skill4 คือ การฝึกทักษะการทำงานของสมองด้านการจัดการ ซึ่งเด็กสมาธิสั้น (ADHD) มักมีปัญหาในทักษะการทำงานของสมองด้านการจัดการ (EFs) เช่น ในส่วนของการจัดการข้อมูล (organization) การวางแผนเริ่มต้นการทำงาน (initiation) และการเปลี่ยนความสนใจจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง (transition between task) ทักษะการแก้ไขปัญหา (problem solving) และทักษะการจัดการเวลา (time management) ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะค้นหาจุดที่เด็กมีความบกพร่องและใช้กิจกรรมเพื่อนพัฒนาทักษะเหล่านั้น

        5. ปรับสภาพแวดล้อม  เพื่อลดสิ่งเร้าและช่วยให้เด็กง่ายต่อการจัดการงาน ตัวอย่างเช่น

-         จัดมุมทำการบ้านในที่สงบปราศจากสิ่งรบกวนทางเสียง การมองเห็น หรือการสัมผัส

-         กำหนดกิจวัตรประจำวันให้เป็นระเบียบแบบแผนชัดเจน

-         จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เป็นระเบียบ

-         ตั้งกฎภายในบ้านอย่างชัดเจน อาจใช้เป็นรูปภาพ เพื่อให้ง่ายต่อการตระหนักตนเอง

-         ตกแต่งบ้านด้วยสีเอิร์ทโทนธรรมชาติ

-         พูดคุยกับเด็กด้วยเสียงต่ำ ช้า ชัดเจน

-         งดดูสื่ออิเล็กทรอนิกส์เกินครั้งละ 30 นาที

-         ให้เด็กได้รับผิดชอบงานในบ้านเช่น เก็บของ กวาดบ้าน หรือล้างจาน เป็นต้น

-         จัดตารางประจำสัปดาห์ให้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

***หากผู้ปกครองท่านใดกังวลเกี่ยวกับปัญหาสมาธิของลูกควรปรึกษานักกิจกรรมบำบัดที่มีความรู้ด้าน Sensory Integration, Self-Regulation Program และ Executive function

 

บทความเรียบเรียงโดย

ครูต้น (วสันต์ ปฏิเสน)

นักกิจกรรมบำบัด ศูนย์ Mind Brain & Body

9 กันยายน 2560

Reference:

  1. Susan Ward. (2015). ADHD & Sensory Integration Disorder. สืบค้น ธันวาคม 2558, www.livestrong.com.
  2. วิฐารณ บุญสิทธิ. (2555). โรคสมาธิสั้น: การวินิจฉัยและรักษา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 57(4), 373-386.
  3. Pediatrics. (2001). Clinical Practice Guideline: Treatment of the School-Aged Child With Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder, Volume 108/Issue 4. สืบค้น กันยายน 2560, pediatrics.aappublications.org.
  4. Shannon Phelan. (2013). How Does Occupational Therapy Help with ADHD. สืบค้น กันยายน 2560, nspt4kids.com
  5. Lynn J. Horowitz and Cecile Rost. (2004). Helping Hyperactive Kids-A Sensory Integration Approach.
  6. Nancy Konigsberg. (2011). Sensory Integration Techniques for ADHD. สืบค้น มกราคม 2559, adhdmomma.com.
  7. Temple University Health Sciences Center. (2005). Study Finds ADHD Improves With Sensory Intervention. สืบค้น ตุลาคม 2559, www.sciencedaily.com
  8. สร้อยสุดา วิทยาการ. (2550) . ออทิสติก: ปัญหาที่พบในแต่ละช่วงวัย วิธีการคัดกรอง การประเมิน และการบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัด: ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
  9. Sidney Chu, Frances Reynolds. (2007). Occupational Therapy for Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD). British Journal of Occupational Therapy, Vol 70, Issue 10.
  10. The SPD Companion, Issue # 021--The Wilbarger Protocol For Sensory Defensiveness. (2007). สืบค้น สิงหาคม 2557. sensory-processing-disorder.com.
  11. Bundy, Lane & Murray. (2002). Sensory Integration: Theory and Practice second edition.   
  12. Mary Sue Williams, Sherry Shellenberger. (2008). How Does Your Engine Run: The Alert Program for Self-Regulation. 
view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view