5 Areas of Attention: Is My Child Developmentally Ready for Sustained Attention, Focus and Multitasking
สมาธิ 5 ด้าน : ลูกของฉันมีพัฒนาการที่พร้อมสำหรับการคงสมาธิต่อเนื่อง, การจดจ่อ, และการทำงานหลายอย่างร่วมกันแล้วหรือยัง
เด็กอายุ 6 ขวบ กลุ่มหนึ่งนั่งล้อมวงฟังครูอ่านนิทาน พอเวลาผ่านไป 10 นาทีเด็กส่วนใหญ่จะอยู่ไม่นิ่ง คุยกระซิบกับเพื่อน หรือนั่งเหม่อ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องปกติหรือไม่? คำตอบคือ “ใช่” พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กช่วงอายุนี้ และเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า “เหมาะสมกับวัย” มันเร็วเกินไปที่ผู้ใหญ่หลายคนจะบอกว่าเป็นปัญหาเมื่อลูกของตนเองหรือเด็กคนอื่นแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ หรือเมื่อเด็กใช้สมาธิจดจ่อในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน
เด็กส่วนใหญ่มีช่วงความสนใจที่สั้น เพราะการคงสมาธิต่อเนื่อง (sustained attention) ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ในความเป็นจริงเด็กที่ยังอายุน้อยไม่ได้ถูกคาดหวังให้ต้องนั่งนิ่งในชั้นเรียน เข้าร่วม จดจ่อ อ่านและเขียนก่อนถึงชั้นอนุบาล พัฒนาการทางสมองของพวกเขายังไม่พร้อม หรือรองรับสำหรับการเรียนรู้ประเภทนี้ ซึ่งเราเรียนรู้จากบทความ “4 Things Worse than Not Learning to Read in Kindergarten.” ของ Huffington Post
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเด็กสามารถใช้สมาธิจดจ่อทางกายภาพได้นานแค่ไหน ให้ใช้อายุของเด็กเป็นแนวทาง หรือเป็นจุดเริ่มต้น เด็กอายุ 5 ปีควรสามารถที่จะคงสมาธิในการมองเห็นและการได้ยิน ประมาณ 5 นาที เด็กอายุ 6 ปี ควรมีประมาณ 6 นาที เด็กอายุ 7 ปี ควรมีประมาณ 7 นาที เป็นต้น ถ้ากิจกรรมหรือเหตุการณ์นั้นน่าสนใจ หรือเป็นเรื่องใหม่สำหรับเด็ก ระยะเวลาในการคงสมาธิต่อเนื่องจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อมาก
โดยปกติแล้วเด็กในช่วงก่อนวัยเรียนจนถึงเด็กช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้ปกครองและครูพยายามคิดและหาวิธีใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นแรงจูงใจและความสนใจในบทเรียนเฉพาะอย่าง หลังจากที่เด็กถูกจุดประกายความสนใจแล้วช่วงสมาธิจะเพิ่มขึ้น และเด็กจะมีโอกาสในการเรียนรู้มากขึ้น ภาพสัญลักษณ์ต่างๆ ก็มีบทบาทอย่างมากในการช่วยให้เด็กคงช่วงความสนใจ และสามารถช่วยพัฒนาในเด็กที่มีปัญหาในการจดจำข้อมูล (retain information) หรือมีปัญหาในการทำตามคำสั่งขั้นตอน
5 Areas of Attention (สมาธิ 5 ด้าน)
หนังสือของ Kenneth Lane เรื่อง Visual Attention in Children กล่าวถึงสมาธิ 5 ด้าน และมีความสัมพันธ์กับการสังเกตทางการมองเห็น (Visual observation) อย่างไร และเด็กมีวิธีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อมอย่างไร (เสียง, ภาพ, กลิ่น, รส, สัมผัส) สมาธิทั้ง 5 ด้านนี้แตกต่างจากประเภทของสมาธิ (Types of Attention) แต่ก็ยังมีความสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะถ้าเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิและการจดจ่อ
เมื่อเด็กมีพัฒนาการเพิ่มขึ้น สมาธิและช่วงความสนใจของเด็กก็จะพัฒนาเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่าพฤติกรรมของพวกเขาเหมาะสมกับวัย หรืออาจล่าช้ากว่าวัย เมื่อเด็กมีความยากลำบากในการคงสมาธิจดจ่อในห้องเรียน แต่เพื่อน ๆ สามารถคงสมาธิได้ อาจเป็นสัญญาณว่าเด็กต้องการความช่วยเหลือในด้าน การกระตุ้นการรับความรู้สึกของข้อต่อ (proprioception), การทรงตัวและความสมดุลของร่างกาย (vestibular), การมองเห็น หรือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (gross motor) เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจพัฒนาการด้านสมาธิของเด็กได้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถเฝ้าติดตามสมาธิทั้ง 5 ด้านนี้ เพื่อดูว่าในแต่ละด้านของเด็กเป็นอย่างไร
Focused Attention (สมาธิจดจ่อ)
สมาธิด้านแรกนี้คือการตอบสนองพื้นฐานของเด็กต่อสิ่งเร้าที่เฉพาะเจาะจงต่อสิ่งเร้าทางการมองเห็น การได้ยิน และการสัมผัส เป็นการทำงานของสมองของเด็กในการจัดสรรทรัพยากรด้านความคิด (cognitive) เพื่อจดจ่อกับข้อมูลภายนอก หรือภายใน หรือสิ่งกระตุ้น และด้วยการจดจ่อนี้ สมองจะสามารถประมวลผลข้อมูลได้
สมาธิช่วงความสนใจ (Attention span) ของเด็ก คือความสามารถในการควบคุมความคิดจดจ่อผ่านการตั้งใจมองสำรวจ หรือการตั้งใจฟัง การจัดเตรียมภาพสัญลักษณ์ (Visual cueing) เป็นตัวเลือกให้เด็ก สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจ่อและคงสมาธิกับข้อมูลภายนอก (External information) ได้ ภาพสัญลักษณ์ต่างๆ (Visual cues) สามารถใช้เพื่อดึงดูดความสนใจ มุ่งเน้น หรือทำให้คงตำแหน่งและเป้าหมายได้ดีขึ้น เช่น คำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ ตัวชี้เลเซอร์ในการนำเสนองาน หรือป้ายกะพริบในเมืองใหญ่ สัญลักษณ์ทางการมองเห็นเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในโลก เด็กๆ จะถูกดึงดูดโดยอัตโนมัติกับสัญลักษณ์ทางการมองเห็นเหล่านี้ และประมวลผลผ่านระบบการมองเห็น (Visual system) ของตนเอง
Selective Attention (การเลือกความสนใจ)
สมาธิด้านนี้คือ ความสามารถของเด็กในการเลือกความสนใจจากปัจจัยหรือสิ่งเร้าหลายๆอย่าง และมุ่งเน้นจดจ่อไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นกระบวนการคัดเลือกที่เกิดขึ้นเนื่องจากเด็กต้องการกรองสิ่งรบกวนอื่นๆออกไป การเลือกความสนใจจะช่วยฝึกให้เด็กของคุณสามารถตัดสิ่งรบกวนที่ไม่จำเป็นออกไปได้ ซึ่งเป็นเรื่องยากหากเด็กมีปัญหาอื่นร่วมด้วย เช่น ความผิดปกติในการประมวลผลระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorders) เพราะพวกเขาจะไวต่อเสียงรบกวนรอบข้างหรือเสียงคนพูดคุย โปรดจำไว้ว่าสิ่งเร้าที่เลือกไม่เพียงแต่กรองสิ่งเร้าจากภายนอก (เช่น เสียงรบกวน) แต่ยังรวมถึงสิ่งเร้าจากภายในด้วย (เช่น ความคิด)
ตัวอย่าง : เมื่อเด็กต้องอ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาในห้องเรียนที่มีเสียงดัง พวกเขาจะต้องสามารถกรองสิ่งรบกวนออกเพื่อให้ตนเองสามารถจดจ่อกับเนื้อหาได้
Shifting Attention (การเปลี่ยนความสนใจ)
อีกความหมายหนึ่งของสมาธิด้านนี้คือการสลับความสนใจ (alternating attention) สมาธิด้านนี้เกิดขึ้นเมื่อเด็กมีความสามารถในการเปลี่ยนการจดจ่อของตนเอง และย้ายระหว่างงานสองงานหรือมากกว่าที่ต้องใช้ความคิด (cognitive) ที่แตกต่างกัน ซึ่งแตกต่างจากการทำหลายงานพร้อมกัน เพราะเด็กจะต้องหยุดงานหนึ่งแล้วไปจดจ่อทำอีกงานที่แตกต่างกันให้สำเร็จ เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะเฝ้าดูการพัฒนาสมาธิของเด็กตั้งแรกเริ่มจนมีความยืดหยุ่นทางด้านความคิด (mental flexibility) เพื่อฝึกฝนสมาธิด้านนี้ พวกเขาจะมีความชำชาญมากขึ้นในการสลับความสนใจไปมาระหว่างงานต่าง ๆ
ตัวอย่าง: การอ่านตำราอาหารและทำอาหารตามสูตรจนสำเร็จ
Sustained Attention (สมาธิต่อเนื่อง)
สมาธิด้านนี้คือเป็นสิ่งที่เด็กจำเป็นต้องใช้ในการจดจ่องานที่ต้องใช้ระยะเวลานาน ซึ่งเป็นความสามารถในการจดจ่อกับกิจกรรม หรือสิ่งกระตุ้นอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นสิ่งที่ท้าทายได้ทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้างานนั้นเป็นงานที่น่าเบื่อ หรือเป็นงานที่ไม่อยากทำ จึงทำให้ระดับการคงสมาธิต่อเนื่องของเด็กมีความแตกต่างกันไป
มีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถส่งผลกระทบต่อระยะเวลาในการคงการจดจ่อของเด็ก จากงานวิจัยหนึ่งพบว่าพฤติกรรมของมารดาที่แสดงต่อบุตรในวัยเตาะแตะและวัยเด็กนั้นเป็นปัจจัยหลักในการคงสมาธิต่อเนื่องของเด็ก ทั้งในด้านของระยะเวลาและความมั่นคงต่อเนื่องของการคงช่วงความสนใจ สิ่งสำคัญของสมาธิด้านนี้คือความสามารถในการกลับมาจดจ่อได้อีกครั้งหลังจากที่หันเหความสนใจไปแล้ว
ตัวอย่าง: เด็กจดจ่ออยู่กับครูที่กำลังอธิบายถึงแนวคิดใหม่ทางคณิตศาสตร์ สมาธิในการมองและการฟัง (Visual and auditory attention) ของเด็กต้องคงอยู่ที่ครูขณะที่ครูกำลังอธิบาย
Divided Attention (สมาธิแบ่งแยก)
สมาธิด้านนี้คือความสามารถของเด็กในการประมวลผลการตอบสนองสองอย่างหรือมากกว่าต่อสิ่งกระตุ้นสองอย่างหรือมากกว่าไปพร้อมกัน ผู้ที่ไม่ได้รับการออกแบบให้สมาธิด้านนี้ทำงานได้ดีนั้นจะทำให้การแบ่งความสนใจเป็นเรื่องยาก ซึ่งแตกต่างจากการเปลี่ยนความสนใจ (shifting attention) ที่คุณเปลี่ยนจากงานหนึ่งไปทำอีกงานหนึ่งให้สำเร็จ, การแบ่งความสนใจ (divide attention) หมายความว่าคุณพยายามทำงานหลายๆ งานในเวลาเดียวกัน หรืออีกความหมายหนึ่งของสมาธิด้านนี้คือการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน (multi-tasking) เมื่อต้องใช้สมาธิด้านนี้เด็กจะจดจ่อความสนใจเป็นส่วนๆ ไปที่งานแต่ละงาน ในอีกแง่หนึ่งพวกเขากำลังชั่งน้ำหนักระหว่างการแยกสมาธิ (splitting attention) กับการสลับสมาธิ (alternating attention) เด็กๆ สามารถทำงานหลายอย่างได้สำเร็จเนื่องมาจากความจำของกล้ามเนื้อ (muscle memory) และความเคยชิน (habit) ความจำของกล้ามเนื้อ และ/หรือ ความเคยชิน ช่วยให้เด็กสามารถทำงานแต่ละส่วนสำเร็จโดยไม่ต้องใช้ความพยายาม (conscious) ในขณะเดียวกันก็ยังคงใช้พลังงานมุ่งความสนใจไปที่อีกงาน หรืองานส่วนอื่นๆ ได้ ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าพวกเขากำลังทำงานมากกว่าหนึ่งอย่างไปพร้อมๆ กัน
ตัวอย่าง: เด็กอ่านแผ่นโน๊ตเพลงขณะกำลังเล่นเปียโน เด็กไม่ได้จดจ่อความสนใจที่ตำแหน่งนิ้วของตนเองถ้าความจำของกล้ามเนื้อเคยได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์ การจดจ่อแล้วเปลี่ยนไปที่การอ่านแผ่นเนื้อเพลง
สมาธิมักเป็นจุดเริ่มตนของความสามารถทางปัญญาอื่นๆ (cognitive capacities) เริ่มแรกเด็กๆ ต้องเรียนรู้ที่จะจดจ่อและประมวลผลเพื่อคงสมาธิ (sustained attention) ก่อนที่พวกเขาจะสามารถประมวลผลข้อมูลเพื่อแปลความหมายและทำความเข้าใจ ถ้าเด็กไม่สามารถจดจ่อทางกายภาพ (physically attend) หรือถ้าพวกเขาต้องใช้การจดจ่อที่มากเกินไประหว่างการเข้าร่วมการเรียนรู้ในห้องเรียนนั่นเป็นสัญญาณว่าพวกเขาอาจมีความล่าช้าหรือมีปัญหาในด้านอื่นๆ ในท้ายนี้, การคงสมาธิ (sustained attention) ควรนำไปสู่การเรียนรู้อย่างมีจุดมุ่งหมาย
*** แปลและเรียบเรียงบทความจาก ilslearningcorner.com โดย Mind Brain & Body เมษายน 2564