- เด็กได้รับการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายนั้นเปรียบเสมือนอาหารที่จำเป็นสำหรับสมองเด็กเพื่อให้พวกเขามีความสามารถในการจัดการ, พัฒนาระบบประสาท, พัฒนาสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหว, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, การวางแผนการเคลื่อนไหว และการพัฒนาสุขภาพร่างกาย โดยส่วนใหญ่เราอาศัยอยู่ในสังคมเมืองจนลืมไปแล้วว่าเด็กจะมีสุขภาพและพัฒนาการที่ดีได้พวกเขาต้องมีโอกาสเล่น แนะนำให้ผู้ปกครองพาเด็กไปเล่นที่สนามก่อนเข้าห้องเรียนครึ่งชั่วโมง หรือให้เล่นเกมไล่จับ หรือเตะบอล กรณีที่เด็กไม่ได้เล่นในเวลาพัก หรือครูทำโทษโดยงดไม่ให้เล่น เราควรขอร้องให้ครูเปลี่ยนวิธีการทำโทษ เพราะจะทำให้เด็กยิ่งขัดขืนมากขึ้น และต้องการการเคลื่อนไหวที่มากขึ้นนั่นเอง
- เด็กอาจมีปัญหาในการควบคุมการทรงท่า ความตึงตัวของกล้ามเนื้อต่ำ หรือกล้ามเนื้อลำตัวและหลังอ่อนแรง ซึ่งทำให้มีความยากลำบากในการทรงท่านั่ง นั่งไม่สบาย หรือปวดหลัง
- เก้าอี้หรือโต๊ะเรียนมีขนาดและความสูงไม่เหมาะสม หลายครั้งจะเห็นได้ว่าโต๊ะเรียน หรือเก้าอี้ของเด็กสูงเกินไป ซึ่งทำให้ควบคุมการทรงท่าลำบาก และขัดขวางประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหว
- เด็กมีภาวะหลีกหนีการสัมผัส (tactile defensive) และเสื้อผ้ากวนใจ หรือเด็กนั่งใกล้ชิดกับคนอื่นมากเกินไปจน ระบบประสาทสัมผัสสั่งให้มีพฤติกรรมถอยหนี
- เด็กนั่งหันหลังให้ทางเดินที่มีคนผ่านไปมา อาจทำให้เด็กเกิดความกังวลใจ โดยจะดีกว่าถ้าเด็กหันหลังให้กำแพง
- เด็กที่มีภาวะหลีกหนีเสียง (auditory defensive) เด็กจะควบคุมตัวเองได้ดีในสถานที่เงียบสงบ มีสิ่งรบกวนทางเสียงน้อย แต่เด็กจะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดัง และอาจแสดงพฤติกรรมวุ่นวาย หรืออาจไม่เข้าใจคำสั่งของครูถ้าตอนนั้นเด็กกำลังพยายามพูดให้เสียงตนเองกลบเกลื่อนเสียงจากสิ่งแวดล้อมอยู่ เด็กที่มีภาวะหลีกหนีเสียงมักแสดงพฤติกรรมวิ่งวนไปรอบๆ ห้อง, ทำเอะอะเสียงดัง, ทำงานไม่เสร็จหรือไม่ฟังกฎระเบียบถ้าห้องเกิดเสียงดัง
- เด็กมีระบบการหายใจที่ไม่ดี การที่เด็กบางคนหายใจแบบตื้นนั้นจะกระตุ้นให้สมองและร่างกายตอบสนองในภาวะต่อสู้หรือถอยหนี (fight or flight) ซึ่งทำให้เด็กยากต่อการนั่งนิ่งๆ เพราะสมองสั่งให้ร่างกายว่ากำลังอยู่ในภาวะฉุกเฉิน
- เด็กไม่รู้ว่ามีสิ่งรบกวนทางสายตา ทำให้เด็กหงุดหงิดเวลาที่ต้องมองงานของตนเอง เด็กบางคนมองเห็นภาพเบลอ หรือภาพซ้อน ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะวิตกกังวลของเด็ก หรือแสงสว่างในห้องอาจไม่เหมาะสมกับเด็ก
- หูชั้นในของเด็กทำงานได้ไม่ดี เพราะหูชั้นในทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมความตื่นตัวสำหรับการเคลื่อนไหว ถ้าหูชั้นในของเด็กไม่สามารถตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวได้ดี ก็ไม่สามารถบอกให้ร่างกายนั่งและจดจ่อได้ และเด็กก็จะต้องการแสวงหาการเคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มระดับความตื่นตัวของตัวเอง
10.พัฒนาการระบบประสาทของเด็กช้ากว่าอายุจริง ซึ่งหมายความว่าปฏิกิริยาพื้นฐานของพัฒนาการระบบประสาทยังหลงเหลืออยู่ ซึ่งกระทบต่อเด็กในการจัดการกับสิ่งรอบตัว เช่น ปฏิกิริยาการควบคุมการทรงท่า ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมการทรงตัว และการมองเห็น
11.กระบวนการเผาผลาญพลังงานทำงานได้ไม่ดี เด็กอาจแพ้อาหาร มีปัญหาการนอน โรคลำไส้รั่ว (leaky gut syndrome) หรือจุกเสียดท้อง ท้องผูก หรือขาดสารอาหาร เพราะวัยเด็กต้องการโปรตีนและสารอาหารอย่างมากเพื่อใช้ในการเรียนรู้และคงสมาธิ
12.เด็กนอนไม่พอ หรือนอนหลับไม่สนิท ต้องสังเกตดูว่าเด็กมีปัญหาเวลาก่อนเข้านอนหรือไม่ หรือเด็กได้นอน 10-11 ชั่วโมงต่อคืนหรือไม่ การระบายอากาศในห้องนอนดีหรือไม่ ถ้าเด็กตื่นนอนยากหรือหงุดหงิดในตอนเช้า มีโอกาสเป็นไปได้ว่าเด็กนอนไม่พอ เมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอสมองก็มีปัญหาในการเรียนรู้
13.เด็กยังอายุน้อยเกินไป หรือวุฒิภาวะยังไม่ถึงวัยเรียน โดยความคิดเห็นทางคลินิกส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่า เด็กผู้ชายอายุ 3 ขวบส่วนใหญ่ควรเริ่มไปโรงเรียนได้แล้ว ดีกว่ารออีก 1-2 ปี เพราะเด็กวัยนี้ไม่มีปัญหาอารมณ์ หรือพฤติกรรม เนื่องจากการพัฒนาของวุฒิภาวะของระบบประสาท ทำให้สามารถเข้าใจกฎเกณฑ์ และกติกาของห้องเรียนได้แล้ว
14.ความคาดหวังของห้องเรียนที่มากเกินไป อาจทำให้เด็กรู้สึกผิดพลาด และสับสน โดยในเด็กที่อายุ 4 ขวบนั้นยังไม่ถึงวัยที่ต้องฝึกจับดินสอเขียน เนื่องจากเด็กยังไม่พร้อมทางด้านสมาธิ ช่วงความสนใจ หรือการแยกแยะทางด้านสายตา ที่จำเป็นสำหรับเรียนรู้การเขียน ควรรอให้เด็กพร้อมก่อน ขอยกตัวอย่างโรงเรียนที่ดีโรงเรียนหนึ่งใน Manhattan ที่ชื่อ Rudolph Steiner School โดยโรงเรียนนี้จะเริ่มให้เด็กเขียนเมื่ออายุ 7 ขวบ ทำให้เด็กโรงเรียนนี้ลายมือสวย และเด็กไม่ค่อยมีปัญหาการเรียน
15.เด็กอาจหิวข้าว หิวน้ำ เหนื่อย หรืออยากเข้าห้องน้ำก็จะทำให้นั่งนิ่งๆ จดจ่อไม่ได้
16.เด็กมีตารางเรียนที่เยอะมากจนเกินไป จนไม่มีเวลาเล่นส่วนตัวเพื่อเติมพลังงาน ทำให้ระบบประสาทสมองยากลำบากในการประมวลผลข้อมูล และพัฒนาวุฒิภาวะไม่ได้ เด็กที่มีตารางเรียน หรือกิจกรรม 2-3 กิจกรรมหลังเลิกเรียน และในช่วงวันหยุด นั้นพิจารณาได้ว่ามากเกินไป ควรแนะนำให้ผู้ปกครองเด็กเล็กเหล่านี้ลดตารางเรียนให้เหลือ 1-2 กิจกรรมหลังเลิกเรียน แล้วให้เด็กได้มีโอกาสเล่นแทน
17.เด็กอยู่หน้าจอนานเกินไป โดยดูได้จากเด็กจะนอนหลับไม่สนิทหลังอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ให้สังเกตว่าเด็กเล่นเกมที่มีเนื้อหารุนแรงมากเกินไปหรือไม่ แนะนำให้ผู้ปกครองจำกัดเวลาในการดูโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และส่งเสริมให้เด็กไปเล่นนอกบ้าน หรือหากิจกรรมต่างๆ เช่น งานฝีมือ การระบายสี การเขียนนิทาน เล่นเครื่องดนตรี เต้น หรืออื่นๆ เป็นต้น และให้หยุดเล่นเกมอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน หรือจะให้ดีจำกัดการดูให้เหลือ 1-2 ชั่วโมง เฉพาะในวันหยุด เพราะการอยู่หน้าจอจะทำให้เด็กขาดกิจกรรมการเคลื่อนไหว การพัฒนาความแข็งแรงของร่างกายและระบบประสาท
18.จะส่งผลต่อสมดุลต่างๆ ของเด็ก โดยเด็กจะซึมซับสิ่งเหล่านี้มากกว่าที่เรารู้ ถ้าผู้ปกครองมีความเครียด ไม่ค่อยอยู่บ้าน ทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อย ทำให้ส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กได้
19.ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ไม่สอนให้เด็กเคารพผู้ใหญ่ ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะปฏิเสธการอบรมสั่งสอนจากผู้อื่น
20.ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก ไม่สนใจเด็ก มัวแต่สนใจเครื่องเล่นอิเล็กโทรนิคต่างๆ เวลาอยู่กับเด็ก
21.เด็กถูกคาดหวังให้นั่งนิ่งๆ เป็นเวลานาน ซึ่งผู้เขียนมักสังเกตเห็นในหลายห้องเรียนเด็กเล็ก ที่ให้เด็กนั่งเป็นระยะเวลานาน โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงท่าทาง ไม่อนุญาตให้เด็กลุกไปดื่มน้ำ หรือไปทานอะไร
22.เด็กเกิดความเบื่อหน่าย ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ดูแลไม่เข้าใจธรรมชาติของสมาธิในเด็กแต่ละช่วงวัย กิจกรรมที่ให้ทำยาก หรือง่ายจนเกินไป หรือเด็กคิดว่าทุกอย่างจะง่ายเหมือนในโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ ที่เสียงดัง มีตัวละครหลากหลาย มีภาพสีสันมากมาย หรือมีความแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา
เกี่ยวกับผู้เขียน: Loren Shlaes, OTR/L is a pediatric occupational therapist specializing in sensory integration and school related issues, particularly handwriting. She lives and practices in Manhattan. She blogs at http://www.pediatricOT.blogspot.com/
Reference : http://www.pediastaff.com/blog/twenty-reasons-why-a-child-cant-sit-still-5034
เรียบเรียงโดย Mind Brain & Body 5 มิถุนายน 2558
Photo Credit: Rolf Sachs Design