http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม1,009,273
เปิดเพจ1,229,605

การตอบสนองต่อสิ่งเร้าความรู้สึกในชีวิตประจำวันของเด็กสมาธิสั้นและเด็กปกติก่อนวัยเรียน

การตอบสนองต่อสิ่งเร้าความรู้สึกในชีวิตประจำวันของเด็กสมาธิสั้นและเด็กปกติก่อนวัยเรียน

Responses of Preschool Children With and Without ADHD to Sensory Events in Daily Life

การตอบสนองต่อสิ่งเร้าความรู้สึกในชีวิตประจำวันของเด็กสมาธิสั้นและเด็กปกติก่อนวัยเรียน

 

OBJECTIVE: เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของผู้ปกครองเด็กปกติและเด็กสมาธิสั้นต่อสิ่งกระตุ้นความรู้สึกในชีวิตประจำวันในประเทศ Israel และทดสอบความสัมพันธ์ของระดับภาวะอยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) และระดับความบกพร่องในการรับความรู้สึก (sensory deficits)

METHOD: โดยการให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 4 ถึง 6 ปี ทำแบบประเมิน Sensory Profile โดยเป็นผู้ปกครองเด็กปกติ 46 คน และผู้ปกครองเด็กสมาธิสั้น (ADHD) หาความแตกต่างในการประมวลผลข้อมูลความรู้สึก (sensory processing) ด้วยวิธีการ matched group comparison design

RESULTS: จากการประเมินโดยผู้ปกครองพบว่าเด็กสมาธิสั้นมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าความรู้สึกแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป โดยในด้าน factor scores (p<.001-.05) แตกต่าง 6 ใน 9 หัวข้อ ด้านการประมวลผลความรู้สึก (sensory processing) ด้านการปรับระดับข้อมูลความรู้สึก (modulation) ด้านการตอบสนองของอารมณ์และพฤติกรรม (behavioral and emotional responses) แตกต่าง 11 จาก 14 หัวข้อ (p<.001-.05) คะแนนของแบบประเมิน Sensory Profile มีความสัมพันธ์ระดับต่ำถึงปานกลาง เมื่อเทียบกับคะแนนภาวะอยู่ไม่นิ่งในแบบประเมิน Preschool Behavior Questionnaire (r= .28-.66)

CONCLUSION: ผลงานวิจัยนี้พบว่าเด็กเล็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) อาจมีความเสี่ยงที่จะมีความบกพร่องในการประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึก (Sensory Procession) การวินิจฉัยและให้การรักษาปัญหานี้ตั้งแต่ต้นจะช่วยให้เด็กสมาธิสั้นสามารถพัฒนาตนเองในการทำกิจกรรมต่างๆ ตามวัยได้อย่างเต็มศักยภาพ

 

โรคสมาธิสั้น ( ADHD ) ในแนวคิดปัจจุบัน เกี่ยวข้องกับการขาดดุลในความสนใจอย่างต่อเนื่อง (sustained attention), การควบคุมความหุนหันพันแล่น (impulse control) และการจัดการกับความตื่นตัว (activity regulation) ในระดับที่ทำให้เกิดการบกพร่องสำคัญต่อระดับความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตทั้งที่โรงเรียน บ้านและในสังคม (สมาคมจิตแพทย์อเมริกัน [APA] 1994) นอกจากความบกพร่องที่เกิดจากอาการหลัก นักวิจัยและแพทย์ได้ชี้ให้เห็นว่า เด็กที่ มีสมาธิสั้นมักได้รับผลจากความบกพร่องในการประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึก (Sensory Processing) และความบกพร่องในการปรับระดับข้อมูลประสาทความรู้สึก (Sensory Modulation Dysfunction) ในบางด้าน (Cermak1988 Mangeot et al. 2001 Parush, Sohmer, Steinberg,&Kaitz, 1997) การประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึก (Sensory Processing) ภาพรวมหมายถึงวิธีการที่ระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลายในการจัดการข้อมูลสิ่งเร้าที่เข้ามา รวมไปถึงการรับการปรับระดับสิ่งเร้า การบูรณาการและการจัดการกับสิ่งกระตุ้นเร้า (Miller & Lane, 2000). ซึ่ง sensory modulation เป็นส่วนหนึ่งของกระบวรการนี้ (หมายถึง ความสามารถในการควบคุมและจัดการกับระดับ ความเข้มข้น และลักษณะของการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในแต่ละระดับและแต่ละรูปแบบ) (Lane, Miller, & Hanft, 2000).

นักวิจัยได้พยายามที่จะอธิบายถึงรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของการตอบสนองประสาทสัมผัส
ของเด็กที่มีสมาธิสั้นโดยใช้ทั้งการวัดทางสรีรวิทยาและพฤติกรรม. การทดสอบเด็กที่ มีสมาธิสั้นในมาตรการทางสรีรวิทยา เช่น somatosensory evoked potential (SEP) (Parush et al., 1997), and electrodermal reactivity (EDR) (Mangeot et al., 2001) ได้แสดงให้เห็นอย่างมีนัยสำคัญของร้อยละของเด็กเหล่านี้ที่มีความแตกต่างในการเกิดปฏิกิริยาทางประสาทสัมผัสเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป.การวัดพฤติกรรมต่างๆ เช่นแบบสอบถามผู้ปกครองและ การchecklist จากผู้ทดสอบแสดงให้เห็นถึงความไวที่เพิ่มขึ้นต่อสิ่งเร้าประสาทสัมผัส เช่น tactile (Ayres, 1964; Bauer, 1977; Lightsey, 1993), visual, auditory, and taste (Papadopoulos & Staley, 1997). นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าเด็กที่เป็นสมาธิสั้นมีความบกพร่องในด้าน vestibular and somatosensory functions เช่น balance, postrotarynystagmus, (Mulligan, 1996) and tactile discrimination (Parush et al.) การบกพร่องเพิ่มเติม เชื่อว่าผลส่วนใหญ่มาจากการประมวลผลประสาทรับความรู้สึกที่ไม่มีประสิทธิภาพ ยังได้มีการอธิบายรวมถึงปัญหาของสหสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหว (motor coordination) และการวางแผนการเคลื่อนไหว (motor planning) (Blondis, 1999; Kadesjo&Gillberg, 1998).

เมื่อเร็วนี้ๆ มีสองการศึกษาร่วมกัน โดยใช้ Sensory profile (SP) ในเด็กสมาธิสั้นและเด็กที่ไม่เป็นสมาธิสั้น เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรับรู้ของผู้ปกครองต่อการตอบสนองสิ่งเร้าทุก sensory domains ของเด็กในแต่ละวัน Dunn and Bennett (2002)  ได้ทำการเปรียบเทียบ การรับรู้ของผู้ปกครองต่อ sensory behaviors ในเด็กวัย 3-15 ปีที่เป็นสมาธิสั้น 70 คน และเด็กปกติ 70 คน ผลของการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การรับรับรู้ของผู้ปกครองต่อการตอบสนองสิ่งเร้าของเด็กสมาธิสั้นมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับเด็กที่ไม่เป็นสมาธิสั้น ในทุก section (14 sections) ของแบบประเมิน Sensory Profile ส่วนใหญ่ของรายการที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นเป็น  4 คลัสเตอร์จาก 9 ปัจจัย คือ sensory seeking (factor 1), emotionally reactive (factor 2), inattention-distractibility (factor 5), and fine motor (factor 9) ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญอื่น ๆ ที่ไม่เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัย เกี่ยวข้องกับการรับรู้ทางสายตาและการตอบสนองต่อการสัมผัส. ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าเด็กสมาธิสั้น อาจจะมีลักษณะเป็นรูปแบบเฉพาะของ sensory performance.

Mangeot et al. (2001) ได้เปรียบเทียบ Sensory Modulation Dysfunction (SMD) ในเด็กสมาธิสั้นจำนวน 26 คน และเด็กพัฒนาการปกติ 30 คน (ช่วงอายุ 5-13 ปี) โดยใช้แบบประเมิน Short Sensory Profile

Questionnaire (SSP; McIntosh, Miller, Shyu, & Dunn,1999) ในการศึกษาครั้งนี้ โดยผลที่ได้ชี้ให้เห็นว่าเด็กสมาธิสั้นมีความผิดปกติที่เห็นได้ชัดเจนในเรื่องของกาปรับระดับสิ่งกระตุ้นเร้าทั้งในด้านสรีระวิทยา (Physiological) และจากการรายงานของผู้ปกครองเด็ก ซึ่งพบว่าเด็กสมาธิสั้นมีคะแนนน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีคะแนนน้อย 6 ใน 7 subscales of SSP. (sensory seeking, auditory filtering, and in sensitivity to tactile, auditory, visual, taste, and olfactory stimuli) นอกจากนี้ จาก subscales ทั้งหมดของ SSP ยกเว้น auditory filtering ความแปรปรวนมากขึ้นพบในการรับรู้ของผู้ปกครอง (parents’ perceptions of sensory responses ) ต่อการตอบสนองทางประสาทสัมผัสในเด็กที่มีสมาธิสั้น. ในขณะที่ Mangeot et al. (2001) ทำการเปรียบเทียบการบูรณาการประสาทรับความรู้สึกในทุกระบบ โดยใช้ข้อมูลจาก SPP (McIntosh et al., 1999) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเป็นแบบคัดกรองเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถให้เนื้อหาที่ครอบคลุม และไม่มีการอธิบายรายละเอียดของการบูรณาการประสาทรับความรู้สึก

                โดยสรุปขณะที่การศึกษาชี้ให้เห็นว่าอาจจะมีการบกพร่องของการประมวลผลประสาทรับความรู้สึกในเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นการศึกษาส่วนใหญ่ยังคงศึกษาตรวจสอบระบบรับความรู้สึกเพียงบางระบบ หรือแยกศึกษาเป็นบางระบบ. มี 2 การศึกษาของ Dunn & Bennett, 2002; Mangeot et al., 2001 เท่านั้น ที่ศึกษาการบูรณาการประสาทรับความรู้สึก sensory processing ในเด็กสมาธิสั้น ซึ่งช่วงอายุของเด็กที่ศึกษากว้างไปและกลุ่มศึกษามีจำนวนน้อย  ซึ่งงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการมีแนวโน้มของพัฒนาการการบูรณาการประสาทรับความรู้สึกในบางระบบ (Dunn & Daniels, 2001) ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าเหมาะสมที่จะดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียดของความสามารถเหล่านี้ในแต่ละกลุ่มอายุที่แตกต่างกัน(Watling, Deitz, & White, 2001). นอกจากนี้ เนื่องจากความสามารถในการประมวลผลทางประสาทสัมผัสรับความรู้สึกไม่ดีในเด็กที่มีอายุน้อย อาจมีผลต่อพัฒนาการทางด้านสังคม ความรู้ ความเข้าใจ และการรับความรู้สึกสั่งการเคลื่อนไหว (Dunn, 2001) การวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก อาจจะทำให้เด็กมีชีวิตที่ดีขึ้น (well being)

                ดังนั้น ในการศึกษาของวิจัยนี้ ได้ใช้ SP scores ของเด็กวัยก่อนเรียนในอิสราเอลที่มีภาวะสมาธิสั้น และเด็กปกติ ช่วงอายุ 4-6 ปี มาเปรียบเทียบ โดยการการเปรียบเทียบคะแนน section scores ซึ่งแสดงให้เห็นการรับรู้ของผู้ปกครองต่อการบูรณาประสาทความรู้สึก (Sensory Processing) การระดับข้อมูลความรู้สึก (Modulation) และการตอบสนองทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก (Behavioral and Emotional responses) และเปรียบเทียบคะแนน factor scores  ซึ่งแสดงให้เห็นการรับรู้ของผู้ปกครองต่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของเด็ก (i.e., overly responsive or underresponsive)

                รวมไปถึง การค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของสมาธิสั้นกับความสามารถในการประมวลผลของประสาทสัมผัสรับความรู้สึก(the severity of ADHD symptoms and sensory processing abilities) และค้นหาว่ามีเด็กสมาธิสั้นร้อยละเท่าไหร่ที่ได้คะแนนแบบทดสอบต่ำกว่า1.5 SD ( more than 1.5 SD below the mean) เมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป

 

จุดประสงค์ของการทำวิจัย (Purposes of the study)

                1. เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของผู้ปกครองต่อการตอบสนองสิ่งกระตุ้นเร้าของเด็กปกติ และเด็กสมาธิสั้น (ADHD) ในวัยก่อนเรียน

                2. เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของอาการสมาธิสั้นกับความสามารถในการบูรณาการประสาทความรู้สึก

 

กระบวนการวิจัย (Research  methodology)

                การศึกษาครั้งนี้ เป็นการเปรียบเทียบกลุ่มที่จะระบุความแตกต่างที่เป็นไปได้ในการประมวลผลทางประสาทสัมผัสระหว่างเด็กปกติ และเด็กสมาธิสั้น โดยใช้แบบประเมิน Sensory Profile (SP)

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา

                เด็กช่วงอายุ 4- 6 ปี ในเมืองอิสราเอล ที่มีภาวะสมาธิสั้น 48 คน และเด็กปกติ 46 คน โดยมีหลักเกณฑ์การคัดเข้าคัดออกดังนี้

 

เกณฑ์การคัดเข้าของเด็กสมาธิสั้น

  • มีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 1.5 SD (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ในหัวข้อ the hyperactivity or aggressive factors จากแบบประเมิน Preschool Behavior Questionnaire (PBQ; Behar&Stringfield, 1974) (ใช้ทั้งจากผู้ปกครองและครู)
  • ได้รับการวินิจฉัยเป็นสมาธิสั้น จากกุมารแพทย์ทางระบบประสาท
  • มีระดับสติปัญญาปกติ โดยวัดจากแบบประเมิน Wechsler Preschool and Primary Scale of Intelligence (WPPSI; Wechsler, 1967)

 

เกณฑ์การคัดเข้าของเด็กปกติ

กลุ่มควบคุม (เด็กปกติ) ได้รับการจับคู่กับกลุ่มวิจัยตามอายุเพศและระดับทางสังคม เศรษฐกิจของผู้ปกครอง และมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • มีคะแนนอยู่ในช่วง 1 SD  (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ในหัวข้อ the hyperactivity or aggressive factors จากแบบประเมิน Preschool Behavior Questionnaire (PBQ; Behar & Stringfield, 1974) (ใช้ทั้งจากผู้ปกครองและครู)
  • มีระดับสติปัญญาปกติ โดยวัดจากแบบประเมิน Wechsler Preschool and Primary Scale of Intelligence (WPPSI; Wechsler, 1967)

 

เกณฑ์การคัดออกของผู้เข้าร่วมวิจัยทั้ง 2 กลุ่ม

  • ได้รับการวินิจฉันว่ามีพัฒนาการบกพร่องอย่างชัดเจนยกตัวอย่างเช่น สมองพิการ และ เด็กที่มีความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน
  • มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย ทางด้านระบบประสาทรับความรู้สึก และด้านประสาทวิทยา

 

กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม

1. กลุ่มเด็กที่เป็นสมาธิสั้น จำนวน 48 คน

2. กลุ่มเด็กปกติ จำนวน 46 คน (มี2 คนไม่ส่งแบบสอบถาม Sensory Profile)

 

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย

1. Preschool Behavior Questionnaire (Behar & Stringfield, 1974). หรือเรียกว่า PBQ แบบสอบถามพฤติกรรมเด็กก่อนวัยเรียน เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3-6 ปี ประเมิน โดยแบบสอบถามมีปัจจัยเกี่ยวข้อง 3 subscales: พฤติกรรม ก้าวร้าวไม่เป็นมิตร วิตกกังวล และ สมาธิสั้น หนเหความสนใจแบบประเมินนี้ มีจำนวน 30 ข้อ และมีการให้คะแนนในระดับ 0 – 2 (0 =ไม่แสดงพฤติกรรม 2 =แสดงพฤติกรรมชัดเจน)

งานวิจัยของ Campbell และคณะบ่งชี้ว่า สมาธิสั้นและความก้าวร้าว จะปรากฏในเด็กมีอาการของโรคสมาธิสั้น (Campbell, 1995; Campbell, Breaux, Ewing, & Szumowski, 1986), ศึกษานี้มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลจากการมีหัวข้อสมาธิสั้น (hyperactive-distractible) และ ก้าวร้าวไม่เป็นมิตร (hostile-aggressive) 

 

2. The Sensory Profile (Dunn, 1999) เป็นแบบสอบถามการรับความรู้สึกที่มีมาตรฐาน มีจำนวน 125 หัวข้อ โดยผู้ดูแลเด็ก ให้ระดับคะแนนการตอบสนองต่อการรับความรู้สึกของเด็กในชีวิตประจำวัน โดยใช้ 5

point Likert scale คือมีระดับคะแนน 1-5 ที่สอดคล้องกับความถี่ของแต่ละ พฤติกรรม (เช่น 1 = เสมอ = 5 ไม่เคย )โดยผลคะแนนต่ำกว่าสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

แบบประเมินนี้ประกอบด้วย 14 subsection และ 9 factors subsection แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ การประมวลผลการรับความรู้สึก (sensory processing) การปรับระดับสิ่งเร้า (modulation) และ พฤติกรรมและการตอบสนองทางด้านอารมณ์ (behavioral and emotional responses) ในส่วนของ 9 factors ประกอบด้วย การแสวงหาสิ่งกระตุ้นเร้า (sensory seeking) การตอบสนองทางด้านอารมณ์ (emotionally reactive) ความทนทานและความตึงตัวของกล้ามเนื้อต่ำ (low endurance–tone) การไวต่อการรับสัมผัสทางปาก (oral sensory sensitivity) ปัญหาในการลงทะเบียนข้อมูลความรู้สึก (poor registration) ช่วงความสนใจน้อยและหันเหความสนใจ (inattention-distractibility) ไวต่อสิ่งกระตุ้นเร้า (sensory sensitivity) ภาวะเฉื่อย(sedentary) และ กล้ามเนื้อมัดเล็ก-การรับรู้ (fine motor-perceptual)

 

3. Wechsler Preschool and Primary Scale of Intelligence (Wechsler, 1967) เป็นแบบประเมิน วัดระดับสติปัญญาเด็กก่อนวันเรียน ช่วงอายุ 3 ปี 11 เดือน ถึง 6 ปี 7 เดือน โดยแบบประเมินมี 11 หัวข้อ แสดงผลเป็นคะแนน แล้วนำไปเทียบระดับสติปัญญา (IQ)

 

Data Analysis

                เพื่อทดสอบความแตกต่างของกลุ่มข้อมูลถูกวิเคราะห์ความแปรปรวนสองตัวแปร (MANOVA )ส่วนแรกกล่าวถึงการเปรียบเทียบระหว่างความแปรปรวนในกลุ่ม 14 subsection  และส่วนที่สอง กล่าวถึงการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มของคะแนน 9 factors ใน Sensory Profile

การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการประมวลผลทางประสาทสัมผัสและความรุนแรงของอาการสมาธิสั้นได้คำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson correlation coefficients) ระหว่างแบบสอบถาม PBQ (คะแนนส่วน hyperactivity) และคะแนน Sensory Profile ทั้งส่วน section และ factors

เพื่อกำหนดเปอร์เซ็นต์ของเด็กที่มีการประมวลผลทางประสาทสัมผัสผิดปกติ จุดตัดที่กำหนดจะ ได้คะแนนมากกว่า 1.5 SDs ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมในแต่ละsection และ factors

 

Results

                จากการเปรียบเทียบคะแนน Sensory Profileในหัวข้อ factors ของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มพบว่า คะแนนของเด็กสมาธิสั้น มีค่าน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ อยู่ 6 factors ในจำนวนทั้งหมด 9 factors คือ การแสวงหาสิ่งกระตุ้นเร้า (sensory seeking) การตอบสนองทางด้านอารมณ์ (emotionally reactive) การไวต่อการรับสัมผัสทางปาก (oral sensory sensitivity) ช่วงความสนใจน้อยและหันเหความสนใจ (inattention-distractibility) ภาวะเฉื่อย (sedentary) และกล้ามเนื้อมัดเล็ก-การรับรู้ (fine motor-perceptual)

 

จากการเปรียบเทียบคะแนน Sensory Profileในหัวข้อ subsectionsของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มพบว่า ค่าคะแนน subsections ของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความต่างอย่างมีนัยสำคัญอยู่ 11 ใน 14 subsections กลุ่ม Sensory Processing คะแนนของเด็กกลุ่มสมาธิสั้นที่มีความต่างอย่าง มีนัยสำคัญได้แก่ auditory, visual, touch, multisensory, and oral sensory processing กลุ่ม Modulation คะแนนของเด็กกลุ่มสมาธิสั้นที่มีความต่างอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ body position and movement, movement affecting activity level, and visual input affecting emotional responses and activity level และกลุ่ม Behavior and Emotional Responsesคะแนนของเด็กกลุ่มสมาธิสั้นที่มีความต่างอย่าง มีนัยสำคัญทั้ง 3 subsections ได้แก่ emotional–social responses, behavioral outcomes of sensory processing, and items indicating thresholds for response) 

การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของการ hyperactivity ตามที่กำหนดโดยคะแนน PBQ (จากการให้ข้อมูลของทั้งผู้ปกครองและครู) และคะแนนของ factors , subsection จาก Sensory Profile พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (moderate correlations)

กล่าวคือ ความรุนแรงของการมีภาวะ hyperactivity มีความสัมพันธ์ ต่อการประมวลผลของระบบประสาทรับความรู้สึก

 

 

 

Discussion

เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นแสดงให้เห็นถึงการบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญของการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต (APA 1994; บาร์คลีย์, 1990) นอกเหนือจากความบกพร่องที่เกิดจากอาการหลักของโรคสมาธิสั้น เด็กเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงที่จะมีความบกพร่องในการประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึก (Sensory Processing) (Cermak, 1988 Mangeot et al. 2001 Miller, Reisman Mcintosh และ Simon 2001)

ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึกเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการประเมินหาเหตุผลที่ว่าทำไมเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นอาจจะประสบปัญหาการมีส่วนร่วมในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่จำเป็นทั้งที่บ้าน โรงเรียน และในระหว่างการเล่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการประมวลผลประสาทความรู้สึกของเด็กปฐมวัยที่มีอาการสมาธิสั้น ตามการรับรู้ของมารดาของเด็ก

ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นได้คะแนนต่ำกว่าเป็นส่วนใหญ่ทั้งด้าน sections และ factors ในแบบประเมิน Sensory Profile และยังชี้ให้เห็นว่าเด็กเหล่านี้มีรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของการประมวลผลประสาทความรู้สึก เมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป ซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้สอดคล้องกับการศึกษาอื่น ๆ ที่ต้องใช้ทั้งแบบสอบถามเชิงพฤติกรรม รวมถึงการประเมินทางสรีรวิทยาร่วมด้วย (Ayres, 1964; Bauer, 1977; Lightsey, 1993; Mangeot et al., 2001; Parush et al., 1997)

ผลการวิจัยนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ Dunn และ Bennett (2002) โดย Dunn และ Bennett เปรียบเทียบคะแนนส่วน sections พบความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มทั้ง 14 ส่วน ในขณะที่การศึกษาครั้งนี้พบ 11 จาก 14 subsections นอกจากนี้ ส่วนต่างของคะแนนระหว่างกลุ่มควบคุมและเด็กสมาธิสั้นมีขนาดใหญ่กว่าที่พบในการศึกษาครั้งนี้ ในการวิเคราะห์ของคะแนน factors ของการศึกษาครั้งนี้ยังพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มเด็กสมาธิสั้นและเด็กปกติ 6 จาก 9 factors ซึ่ง Dunn และ Bennett ไม่ได้แสดงผลการเปรียบเทียบคะแนน factors ในการศึกษาของพวกเขา

ความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างผลการศึกษาของ Dunn และ Bennett (2002) กับผลการศึกษาครั้งนี้ อาจจะอธิบายได้ว่าเกิดจากความแตกต่างในลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เนื่องจากผู้เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้ได้รับการคัดเลือกจากชุมชนมากกว่าจากศูนย์การรักษาหรือคลินิกจึงมีอาการรุนแรงน้อยกว่า (Angold, Costeelo, &Erkanli, 1999; Jensen, Martin, & Cantwell, 1997 ) นอกจากนี้ความจริงที่ว่าตัวอย่างการศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วยเด็กก่อนวัยเรียนทั้งหมด ที่สามารถอธิบายความแตกต่างเหล่านี้ได้ ยกตัวอย่างเช่นการศึกษาของ Dunn และ Bennett พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเด็กที่มีและไม่มีภาวะสมาธิสั้นในส่วน vestibular processing section ซึ่ง การศึกษาครั้งนี้ไม่พบความสัมพันธ์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อยจึงมีระดับการเคลื่อนไหวที่ไม่แตกต่างกัน

ผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนน PBQ และคะแนนของ Sensory Profile ในเด็กสมาธิสั้น ชี้ให้เห็นว่า ยิ่งเด็กมีความบกพร่องในการประมวลผลทางระบบประสาทสัมผัสมากขึ้น จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้นมากขึ้น (hyperactive) ซึ่งข้อมูลที่ได้มาจาก 2 กลุ่ม คือข้อมูลจากครูและผู้ปกครองของเด็ก การค้นพบนี้ช่วยสนับสนุนการค้นพบของการศึกษาในครั้งนี้เกี่ยวกับความสามารถในการประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึก (Sensory Processing) ในเด็กสมาธิสั้น (ADHD)

เมื่อพิจารณาผลที่ออกมาจะพบว่าแบบประเมิน Sensory Profile นอกจากจะใช้วัดความสามารถในการประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึกแล้วยังบอกถึงพฤติกรรมที่เป็นผลจากการประมวลผลประสาทความรู้สึก ทั้งในด้านสมาธิ และด้านอารมณ์สังคม เพื่อที่จะประเมินลักษณะการประมวลผลข้อมูลความรู้สึกในเด็กสมาธิสั้น จำเป็นต้องแยกพฤติกรรมเหล่านี้ออกมา เพื่อเทียบกับพฤติกรรมที่เป็นลักษณะอาการที่ใช้วินิจฉัยโรคสมาธิสั้น (attention, hyperactivity, and impulsivity) Dunn and Bennett (2002) ให้ความสำคัญกับความแตกต่างนี้ในการศึกษา ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในด้านพฤติกรรมที่เกี่ยวของกับการประมวลผลความรู้สึก ของเด็กสมาธิสั้น และเด็กปกติ ตลอดจนพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับอาการหลักของโรคสมาธิสั้น

ในการศึกษานี้ ได้วิเคราะห์คะแนน section พบว่า เด็กกลุ่มสมาธิสั้นมีปัญหาทางการประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึก ยิ่งไปกว่านั้นพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ยังสะท้อนถึงพฤติกรรมที่เป็นอาการหลักของโรคสมาธิสั้นโดยเฉพาะในหัวข้อ auditory, visual, touch, and oralprocessing การค้นครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนโดยบรรดานักวิจัยอื่นที่ระบุเช่นกันว่า เด็กที่มีสมาธิสั้นอาจมีปัญหาการประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึกระบบเหล่านี้ (Lightsey, 1993; Mangeotet al., 2001; Papadopulos& Staley, 1997; Parush et al., 1997).

 

เมื่อวิเคราะห์ลงลึกในหัวข้อต่างๆ ในแต่ละ sections จะพบพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงการตอบสนองที่มากเกินไปของระบบประสาท (overresponsivity) (เช่น มีความไวต่อเนื้อผ้าบางชนิด ) การตอบสนองที่น้อยเกินไปของระบบประสาท (underresponsivity) (เช่น ไม่ตระหนักถึงความรู้สึกเจ็บปวด และอุณหภูมิ) ความยากลำบากในการรับรู้ทางด้านสายตา (เช่น มีความยากลำบากในการต่อจิ๊กซอว์ เข้าด้วยกัน ) หรือองประกอบอื่นๆ ในการวิจัยในอนาคตควรศึกษาธรรมชาติของปัญหาเหล่านี้ในเชิงลึก

คะแนน factors ที่พบว่ามีความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงทั้งอาการหลักของโรคสมาธิสั้น (เช่น ไม่ตั้งใจ หันเหความสนใจ) หรือพฤติกรรมที่มีลักษณะของประชากรกลุ่มนี้โดยทั่วไป (เช่น การตอบสนองทางอารมณ์ - ความบกพร่องด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและการรับรู้) (Doyle, Wallen, &Whitmont, 1995; DuPaul, McGoey, Eckert, &VanBrakle, 2001; Nixon, 2001; Whitmont& Clark, 1996) ความจริงที่ว่าแม่ของเด็กที่มีสมาธิสั้นในครั้งนี้ รายงานการศึกษาพฤติกรรมเฉื่อยชา (sedentary behaviors) คืออีกประเด็น เมื่อพ่อแม่ถูกสอบถามในประเด็นนี้เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของพวกเด็กมากขึ้นอย่างเต็มที่มันก็ถูกเปิดเผยว่าพวกเขารับรู้การเล่นในลักษณะอยู่นิ่ง (sedentary play ) เช่นดูโทรทัศน์ และเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ซึ่งตรงกับรายงานประวัติจากแพทย์ที่มักจะได้ยินผู้ปกครองของเด็กที่มีสมาธิสั้นบ่นว่าเด็กของพวกเขาใช้เวลามากเกินไปในกิจกรรมดังกล่าว

ผลการวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า section scores และ factor scores ให้มุมมองที่แตกต่างกันในการที่ sections สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของกลุ่มที่เกี่ยวกับการบกพร่องของการประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึก ในขณะที่ความแตกต่างของ factor scores สะท้อนอาการที่เป็นลักษณะทั่วไปของโรคสมาธิสั้น ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจในการศึกษาลงลึกต่อไปในอนาคต

ควรคำนึงว่าไม่ควรแยกใช้ factor และ sections ของ Sensory profile cluster items ออกจากกัน ( ดูรายละเอียดในส่วนของเครื่องมือ ) ซึ่งใน factors นั้นไม่รวมรายการทั้งหมดของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น sensory sensitivity factor ไม่รวมรายการที่เกี่ยวข้องกับระบบสัมผัส (tactile system) และไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม factors นี้ในทางตรงกันข้าม การวิเคราะห์ sections  พบว่ามีความแตกต่างในการประมวลการสัมผัส (touch processing)

ในการสรุปผลการวิจัยของการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเด็กเล็กที่มีภาวะสมาธิสั้นดูเหมือนจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะมีความบกพร่องในหลายด้านของการประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึก เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากผู้ปกครองเด็กสมาธิสั้นและเด็กปกติ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ยังแสดงให้เห็นว่าในบาง sections และ factors ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึกด้านต่าง ๆ ของเด็กที่มีสมาธิสั้น คะแนนอยู่ในขอบเขตปกติ ของ subscales ความแปรปรวนนี้เน้นความสำคัญของเด็กแต่ละคน และไม่เพียงแต่ลักษณะของกลุ่มที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์เหล่านี้มีทฤษฎี รวมทั้งความเกี่ยวพันธ์ทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยสมาธิสั้น ผลการศึกษาครั้งนี้สอดคล้องกับการศึกษาอื่นๆ ที่พบว่าเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นมีความแตกต่างจากเด็กทั่วไป ในด้านการประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึก ความแตกต่างเหล่านี้ดูเหมือนจะสอดคล้องในกลุ่มอายุที่แตกต่างกันการศึกษานี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาของ Dunn and Bennett (2002) พบความแตกต่างเพียงเล็กน้อยระหว่างผลการศึกษา ซึ่งอาจจะเกิดจากขั้นตอนการพัฒนา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความแตกต่างที่พบ และเนื่องจากมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างเล็กน้อยของการวิจัย และต้องการงานวิจัยอื่นๆ เพื่อยืนยันประเด็กต่างๆ เพิ่มขึ้น

ผลการวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นมีความเสี่ยงที่จะพบความบกพร่องในการประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึก และสามารถพบได้แม้ว่าเด็กจะอายุน้อย และเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาในการประเมิน และรักษาเด็กที่สงสัยว่ามีภาวะสมาธิสั้น และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าการประมวลผลประสาทความรู้สึกทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมการปรับตัว (adaptive behaviors) และทำให้เด็กทำกิจกรรมตามวัยต่างๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพ (Dunn, 2001; Parham, 2002) การวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก จะเป็นผลดีต่อการพยากรณ์ของโรค และช่วยลดปัญหาทางด้านอารมณ์-สังคม การรับความรู้สึกสั่งการเคลื่อนไหวที่จะตามมาได้ และสุดท้ายผลการวิจัยเผยให้เห็นการรับรู้ของมารดาในด้านความบกพร่องในการประมวลผลข้อมูลประสาทความรู้สึกในเด็กก่อนวัยเรียนโดยเฉพาะกิจกรรมของเด็กก่อนวัยเรียน ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจทางประสาทสัมผัส เพื่อการเรียนรู้สิ่งต่างๆ

ข้อจำกัดของการวิจัยที่ต้องนำมาพิจารณาเมื่อเกี่ยวข้องกับการค้นพบหนึ่งก็คืออาจเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ปกครองเพียงแหล่งเดียว ซึ่งผู้ปกครองแต่ละคนอาจมีธรรมชาติที่แตกต่างกัน บ้างอาจปฏิเสธ วิตกกังวล หรือการคิดเอาเอง ในอีกด้านหนึ่งความใกล้ชิดของผู้ปกครองกับเด็ก จะทำให้ได้ภาพของการตอบสนองทางระบบประสาทสัมผัสที่สมบูรณ์และชัดเจนเช่นกัน

นอกเหนือจากนี้ แม้จะมีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมมาจากกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่สามกลุ่ม แต่อัตราการได้รับความยินยอมต่ำ (37% ของกลุ่มศึกษา) รวมถึงมีการใช้เพียงหนึ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ จึงเป็นข้อจำกัดของงานวิจัยนี้ แต่อย่างไรก็ตามการจับคู่เปรียบกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ถือเป็นการออกแบบวิจัยที่มีจุดแข็ง

 

สืบค้นต้นฉบับได้จาก  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15202627

ผู้วิจัย Aviva Yochman, Shula Parush, Asher Ornoy

แปลและเรียบเรียงโดย ครูอิ๋ว ครูต้น นักกิจกรรมบำบัดประจำศูนย์ ไมน์ด เบรน แอนด์ บอดี้ พฤศจิกายน 2559

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view