Sensory Over-Responsivity and Anxiety in children with ADHD
Objective: ประมาณ 25% ของเด็กสมาธิสั้น (ADHD) มีภาวะโรควิตกกังวลสูง จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้เพื่อบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะตอบสองต่อสิ่งเร้าทางระบบประสาทความรู้สึกที่มากเกินไป (sensory over-responsivity) (SOR) กับการประเมินระดับความวิตกกังวล (Anxiety) ในเด็ก ADHD
Method: เด็ก ADHD อายุ 6-10 ปีจำนวน 24 คน และเด็กที่ไม่ได้เป็น ADHD จำนวน24 คน โดยผู้ปกครองตอบแบบสอบถาม a Revised Children’s Manifest Anxiety Scale (RCMAS) เด็กกลุ่ม ADHD แยกเป็น ADHD + SOR และกลุ่ม ADHD อย่างเดียวโดยใช้ sensory over-responsivity inventory
Results: เด็กในกลุ่ม ADHD+SOR มีภาวะวิตกกังวลมากกว่าทั้งกลุ่ม ADHD อย่างเดียว และกลุ่มควบคุมที่ไม่มี ADHD อย่างมีนัยสำคัญ เด็กกลุ่ม ADHD+SOR มีความเป็นไปได้มากว่าจะมีภาวะวิตกกังวลสูง (บ่งชี้โดย total score on the RCMAS)
Conclusions: นักกิจกรรมบำบัดที่บำบัดรักษาเด็ก ADHD and SOR ควรจะตระหนักว่าเด็กอาจมีภาวะ anxiety และปรึกษากับครอบครัวเพื่อการป้องกันหรือการบำบัดรักษาปัญหาที่มักพบร่วมกันนี้
มีงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับ attention deficit hyperactive disorder (ADHD) พบว่าประมาณ 25% ของเด็กสมาธิสั้นมีภาวะโรควิตกกังวลร่วมด้วย พบเด็กสมาธิสั้นจำนวนมากที่มี disruptive behavior disorders เช่น conduct disorder (เด็กมีพฤติกรรมเกเรคล้ายอันธพาล), oppositional defiant disorder (เด็กมีอาการดื้อไม่เชื่อฟัง), นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมเช่น impulsivity (หุนหันพลันแล่น), fearlessness (ไม่รู้จักกลัวอันตราย), moodiness (หงุดหงิด), excessive worry (วิตกกังวลมากเกินไป), difficulty to shift attention (มีความยากลำบากในการเปลี่ยนความสนใจจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง), inflexibility (ไม่ยืดหยุ่น) ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้พบได้ในคนที่มีภาวะโรควิตกกังวล (anxiety disorder) โดย Johnson (1975) กล่าวว่า anxiety เกิดจากความผิดพลาดของการประมวลผลข้อมูลการตอบสนองที่ไวเกินไปต่อข้อมูลความรู้สึก และสิ่งเร้าในสิ่งแวดล้อม Ayres (1972) กล่าวว่า การไม่สามารถปรับข้อมูลที่เข้ามาในสมองได้นำไปสู่ อาการวอกแวกง่าย (distractibility) วิตกกังวล (anxiety) และความเครียด (stress)
ในปัจจุบันมีการเสนอให้จัดประเภทของ sensory processing disorder คือ sensory over-responsivity (SOR) เป็นลักษณะประเภทหนึ่งของ sensory modulation disorder (ความพกพร่องในการปรับระดับข้อมูลของสมอง)โดยตอบสนองต่อสิ่งเร้า faster, longer, or more intense มากเกินกว่าที่จะคาดการณ์ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เหมาะสม บุคคลหนึ่งๆ อาจแสดงการตอบสนอง over-responsivity ต่อสิ่งเร้าหลายชนิด (เช่น เสียง, การเคลื่อนไหว, การสัมผัส) และพฤติกรรมตอบสนองโดยสีหน้า ท่าทาง และอารมณ์ที่รับรู้ถึงสิ่งเร้าที่อันตราย เช่น ก้าวร้าว (aggression), กลัว (fear), หลีกเลี่ยง (avoidance), ถอยหนี (withdrawal), ระคายเคือง (irritability), หงุดหงิด (moodiness)
Neal, Edelmann, และ Glachan พบความความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่าง การรับรู้ความวิตกกังวลของตนเอง และ การตอบสนองไวต่อสิ่งเร้า ในผู้ใหญ่วัย 17-75 ปี คะแนนจาก the Highly Sensitive Person Scale พบความวิตกกังวลถูกแบ่งประเภทจาก โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia) และกลัวสังคม (social phobia)
งานวิจัยอื่นๆ พบการลดลงของความวิตกกังวลที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธี Sensory based treatment ซึ่งต้องเตรียมการพิสูจน์ความเชื่อมโยงของ SOR และ anxiety ต่อไปในอนาคต
Pfeiffer Kinnealey (2003) พบการลดลงของ anxiety ในวัยผู้ใหญ่กับ sensory defensiveness หลังจากได้รับ sensory based intervention ในขณะที่ Edelson, Kerr, และ Grandin (1999) พบการลดลงระดับปานกลางของ anxiety หลังจากได้รับ deep pressure input program ในเด็กออทิสติก
มีหลายงานวิจัยที่พบความเกี่ยวข้องกันของ SOR และ Anxiety นอกจากนี้ SOR, Anxiety, และ ADHD ยังมีความสัมพันธ์กันทางโครงสร้างระบบประสาทวิทยา การศึกษาให้ชัดเจนควรมีการแบ่งเด็ก ADHD เพียงอย่างเดียวออกจากเด็ก ADHD ที่มี Anxiety ด้วย มีความเป็นไปได้ที่ ความบกพร่องของ Sensory Modulation จะเพิ่มภาวะวิตกกังวล Anxiety
ความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าความรู้สึกไม่ได้สัมพันธ์กันเพียงแต่พฤติกรรมเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system), Hypothalamus, Amygdala, และ Reticular formation
พฤติกรรมวิตกกังวลมีความสัมพันธ์กับการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา เช่น อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น (increase heart rate), หายใจถี่ขึ้น (increase respiration), รูม่านตาขยาย (pupillary dilation) และ ความรู้สึกไม่หิวหรือกระหาย (appetite suppression) (Bear, Connors, & Paradiso, 2007)
- hypothalamus เป็นสื่อกลางระหว่างระบบประสาทอัตโนมัติ รับข้อมูลจาก amygdala ซึ่งแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันกับ reticular formation และ frontal cortex
- amygdala ไม่ได้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางด้านอารมณ์เพียงอย่างเดียวแต่มีสมมติฐานว่ารวมถึงความทรงจำทางด้านอารมณ์จากประสบการณ์ในอดีต ความคิด และการรับรู้ ที่อาจช่วยยับยั้งการทำงานของ frontal cortex ให้ลดการทำงานของ amygdala และยับยั้งการตอบสนองที่ไวเกินไปทางด้านอารมณ์
- reticular formation ยังมีบทบาทในการปรับระดับความตื่นตัว (level of arousal) ส่งต่อไปที่ amygdala ซึ่งเชื่อมโยงความจำทางด้านอารมณ์ในสถานการณ์ต่างๆ และความพร้อมในการแก้ปัญหากับสิ่งเร้าที่เข้ามาได้
ในงานวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับเด็กและผู้ใหญ่ได้แสดงหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่าง SOR และ anxiety โดย Pfeiffer (2003) ได้ใช้แบบประเมิน Sensory Profile และแบบประเมิน Adolescent/Adult Sensory Profile ให้ผู้ปกครองเด็ก 46 คน อายุระหว่าง 6 ถึง 16 ปี ที่วินิจฉัยว่าเป็นโรค Asperger syndrome และใช้แบบรายงานการวัดความวิตกกังวล the Revised Children’s Manifest Anxiety Scale (RCMAS; Reynolds & Richmond, 2005) พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างภาวะ hypersensitivity หรือ SOR และภาวะวิตกกังวล Anxiety ในกลุ่มตัวอย่าง (r=.476, p=.001) สอดคล้องกับการค้นพบของ Neal, Edelmann และ Glachan (2002) ที่พบความสัมพันธ์ระหว่าง Self-reported anxiety และการตอบสนองที่มากเกินไปในสิ่งแวดล้อม (sensitivity ro environmental stimuli) ในผู้ใหญ่อายุ 17 ถึง 75 ปี (r=.40, p<.01) และ Aron & Aron, 1997 ใช้แบบประเมิน Hightly Sensitive Person Scale พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญในการคาดการ Anxiety ในผู้ที่เข้าข่ายโรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia) (b=.43, p<.0005) ผู้ป่วยวิตกกังวลหรือหวาดระแวง (anxiety or panic disorder) (b=.33, p<.0005) และโรคกลัวการเข้าสังคม (social phobia) (b=.29, p<.0005; Neal et al. 2002) แม้ว่าจะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับงานวิจัยที่สนับสนุนเกี่ยวกับการให้ Sensory-base treatment ในการลดภาวะวิตกกังวล หรือหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่าง SOR และ Anxiety แต่ทว่า Pfeiffer and Kinnealey (2003) พบการลดลงของภาวะวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญในผู้ใหญ่ที่มีภาวะหลีกหนีการสัมผัส (sensory defensive) หลังจากการบำบัดด้วยวิธี sensory-based intervention และ Edelson, Kerr, and Grandin (1999) พบการลดลงระดับปานกลาง (moderate reduction) ของภาวะวิตกกังวลในเด็กออทิสติก หลังจากให้ deep-pressure input program
จะเห็นได้ว่าการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางความรู้สึกที่มากเกินไป (SOR) และภาวะวิตกกังวล Anxiety มีความสัมพันธ์กันในหลายงานศึกษา นอกเหนือจากนี้ SOR และ Anxiety และ ADHD ยังมีความเกี่ยวเนื่องคล้ายคลึงกันทางด้านโครงสร้างของระบบประสาท (neurological structures) เพื่อให้เกิดความความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับ Anxiety-Sensory Modulation-Attention Deficits ระหว่างกลุ่มเด็กสมาธิสั้น ADHD อย่างเดียว และกลุ่มสมาธิสั้นที่มีภาวะวิตกกังวล ADHD with comorbid Anxiety disorder ถึงความเป็นไปได้ที่ว่าปัญหาในการปรับระดับข้อมูลความรู้สึก (inability to modulate sensation) อาจทำให้ภาวะวิตกกังวลเพิ่มขึ้น เพื่อประโยชน์ในการบำบัดรักษาเด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้น ADHD
การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาระดับตอบสนองที่มากเกินไปของระบบประสาทความรู้สึก (SOR) ที่สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของภาวะวิตกกังวล (Anxiety) ในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) โดยมีสมมติฐานการศึกษาว่าเด็กสมาธิสั้น ADHD ที่มีภาวะตอบสนองมากเกินไปต่อสิ่งกระตุ้นทางระบบประสาทความรู้สึก (SOR) มีระดับภาวะวิตกกังวล (Anxiety) สูงกว่าเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นอย่างเดียว หรือเด็กปกติ
Discussion
ด้วยข้อมูลจากงานวิจัยของ Schatz & Rostain, 2006 ที่พบว่าเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นมีระดับภาวะวิตกกังวลสูงกว่าเด็กทั่วไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมาย และงานวิจัยครั้งนี้ก็พบว่าเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น (ADHD) ร่วมกับภาวะตอบสนองมากเกินไปของระบบประสาทความรู้สึก (SOR) มีระดับความวิตกกังวล (Anxiety) สูงกว่าเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นเพียงอย่างเดียว และนอกจากระดับความวิตกกังวลที่สูงมากว่าแล้วยังพบรูปแบบการตอบสนองทางด้านสรีรวิทยาต่อภาวะวิตกกังวลด้วย ดังนั้นจึงคาดการได้ว่าเด็กที่มีภาวะ ADHD ร่วมกับ SOR มักมีคำพูดเกี่ยวกับตนรู้สึกปวดท้อง หรือมีปัญหาการนอน เนื่องจากภาวะวิตกกังวล มากกว่าการที่รู้ว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญสำหรับปัญหาสมาธิสั้น (ADHD) ภาวะตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทางประสาทความรู้สึกที่มากเกินไป (SOR) และภาวะวิตกกังวล (Anxiety) แล้วยังทำให้เข้าใจโรคสมาธิสั้นมากขึ้น และมีความคุ้มค่าอย่างมากที่ควรมีการทดสอบภาวะตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทางประสาทความรู้สึกมากเกินไป (SOR) ในเด็กสมาธิสั้น ADHD
ความเชื่อมโยงระหว่าง SOR และ Anxiety เป็นสิ่งที่ Ayres (1972) และ Johnson (1975) ได้เริ่มต้นศึกษามามากกว่า 30 ปี และงานวิจัยใหม่ของ Pfeiffer (2003) ในเด็กแอสเพอเกอร์ (Asperger syndrome) ก็พบความสัมพันธ์ของ SOR และ Anxiety และการศึกษาครั้งนี้ก็พบความสัมพันธ์ในเด็กสมาธิสั้น (ADHD) ซึ่งควรมีการศึกษาความสัมพันธ์นี้ในประชากรกลุ่มอื่นๆ ต่อไปในอนาคต
*** สำหรับในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสมาธิสั้น ADHD และภาวการณ์ตอบสนองที่มากเกินไปของระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Over-responsivity; SOR) โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยภาวะสมาธิสั้น ส่วนนักกิจกรรมบำบัดนั้นจะมีเครื่องมือในการประเมินลักษณะการตอบสนองของระบบประสาทความรู้สึก ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมอง (Sensory Integration/Processing) หากผู้ปกครองสงสัยว่าบุตรหลานของท่านอาจมีปัญหาความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึก แนะนำให้ปรึกษานักกิจกรรมาบำบัดที่ใช้หลักการ Sensory Integration/Processing ในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
Reference : Reynolds, S., & Lane, S. J. (2009). Sensory over-responsivity and anxiety in children with ADHD. American Journal of Occupational Therapy, 63, 433-440 สืบค้นได้จาก http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19708472
แปลและเรียบเรียงโดย Mind Brain & Body Child Development Center สิงหาคม 2558