Physician Fact Sheet Sensory Integration Disorders Signs and Symptoms.
ความผิดปกติในการบูรณาการประสาทความรู้สึก ( Sensory Integration Disorder : DSI ) ที่ควรต้องรู้
What are Sensory Integration Disorders?
Sensory Integration Disorder (DSI) หรือบางคนรู้จักในชื่อ Sensory Processing Disorder (SPD) ถูกให้คำจำกัดความครั้งแรกเมื่อ ปี 1960 โดย Dr. Jean Ayres ว่า เป็นความผิดปกติทางด้านพัฒนาการ ที่แสดงปัญหาในด้าน
- การประมวลผล และการจัดการกับข้อมูลของระบบประสาท (Processing and Organizing)
- การให้ความหมายเพื่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางความรู้สึก
- ความสามารถในการปรับตัวตอบสนองต่อสิ่งเร้า
เด็กที่มีความผิดปกติของการประมวลผลการรับความรู้สึก อาจมีความยากลำบากในการทำกิจวัตรประจำวัน การดูแลตนเอง (Self care) หรือการเล่น (Play) และต้องใช้ความพยายามที่มากกว่าในการทำกิจกรรมเหล่านี้เมื่อเทียบกับเด็กคนอื่น
การประเมินความชุก ( Estimated Prevalence)
- พบในเพศชาย ร้อยละ 73
- พบในเด็กวัยเรียน ร้อยละ 5-13
- พบในเด็กกลุ่มอาการออทิสซึม ร้อยละ 40-88
ความผิดปกติอื่นที่เกี่ยวข้อง
DSI มักพบว่ามีความสัมพันธ์กับ
- ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ( Learning Disabilities )
- ความบกพร่องในการประสานสัมพันธ์ของร่างกาย (Developmental Coordination Disorder)
- สมาธิสั้น (Attention Deficit Disorder with and without hyperactivity)
- เด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการ และ Autism Spectrum Disorder
- พัฒนาการทางภาษาช้า
- ความบกพร่องในการประมวลผลด้านการได้ยิน (Auditory processing disorder)
- เด็กกำพร้าที่อยู่ในสถานรับเลี้ยง
- ความบกพร่องด้านการเขียนและอ่าน (Dyslexia)
Functional Problem Associated with DSI : ผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะการทำหน้าที่พื้นฐานที่เกิดจากความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมอง
ปัญหาทักษะการทำหน้าที่พื้นฐานที่เกิดจากความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมอง
- ปัญหาด้านอารมณ์ สมาธิ พฤติกรรม จะลดการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก
- มีความล่าช้าของพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการควบคุมที่เกี่ยวกับการพูด
- มีความล่าช้า หรือไม่ปกติในการพัฒนาทักษะพื้นฐานในการใช้ชีวิตประจำวัน
- มีความบกพร่องของการนอน หรือ การรับประทานอาหาร หรือ ระบบการขับถ่าย
Features of Sensory Integration Disorders : ลักษณะความผิดปกติของการบูรณาการประสาทรับความรู้สึกสมอง
Major subtypes: DSI มีรูปแบบการแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มย่อย แต่ก็อาจพบพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว หรือหลายอย่างร่วมกัน
- ความผิดปกติของการปรับระดับข้อมูลความรู้สึก ( Sensory modulation disorder )
- ความผิดปกติของการแยกแยะข้อมูลความรู้สึก ( Sensory discrimination disorder )
- ความผิดปกติของการควบคุมการทรงท่า และการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อตา ( Postural-ocular disorder )
- ความผิดปกติด้านการวางแผนการเคลื่อนไหว (Dyspraxia)
ลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ คือ
- มีความบกพร่องของการประมวลผลและการผสมผสานข้อมูลความรู้สึกที่ได้รับเข้ามา
- ความบกพร่องนั้นไม่ได้มาจากปัญหาทางการแพทย์ทั่วไป
- ความบกพร่องเป็นอุปสรรคต่อทักษะการใช้ชีวิต (Functional skills) สังคม อารมณ์ (social-emotional health) และการควบคุมพฤติกรรมตนเอง (behavioral regulation)
- พบปัญหาได้ในเด็กวัยปฐมวัย หรือก่อนวัยรุ่น
- มีการพัฒนาพฤติกรรมหลีกเลี่ยงชดเชย (compensatory behaviors) เพื่อปกปิดปัญหาพื้นฐาน
- มีหลักฐานจากเครื่องมือทางสรีรวิทยาปรากฏให้เห็น : ความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก ( Atypical sympathetic nervous system activity ) โดยมีความผิดปกติในการตอบสนองของ electro dermal ( EDA ) ต่อการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัส ( sensory stimulation ) ( Mclntosh, Miller, Shyu, & Hageman, 1999 )
- มีการแสดงของกลุ่มอาการด้านระบบการควบคุมการทรงตัว (vestibular) หรือสมองน้อย (cerebellar)
ลักษณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษาตัวอย่างในเด็กที่มีปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมอง 1,000 คน เพื่อประมาณการเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือพบปัญหาระหว่างการคลอด
- ร้อยละ 42 มีภาวะคลอดบุตรยาก
- ร้อยละ 32 คลอดลูกโดยใช้เครื่องมือช่วยทำคลอด
- ร้อยละ 25 มารดาติดเชื้อ หรือเจ็บป่วยระหว่างตั้งครรภ์
- ร้อยละ 13 คลอดก่อน 37 สัปดาห์
ประมาณการปัญหาสุขภาพของเด็กกลุ่มนี้ก่อนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น
- ร้อยละ 62 มีการติดเชื้อแบบเรื้อรังที่หู
- ร้อยละ 40 เป็นโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืด
- ร้อยละ 27 เคยได้รับการบาดเจ็บ หรือป่วยอย่างรุนแรง
- ร้อยละ 25 เป็นโรคดีซ่านแรกคลอด
- ร้อยละ 20 แสดงอาการร้องโคลิคช่วงทารก
ประมาณการลักษณะพัฒนาการ
- ร้อยละ 47 เด็กไม่เข้าสู่ช่วง Terrible two’s หรือเข้าสู่ช่วงนี้ช้า
- ร้อยละ 37 มีรายงานจากผู้ปกครองว่าเด็กมีพัฒนาการคลาน เพียงช่วงสั้นๆ หรือไม่มีเลย
- ร้อยละ 33 เด็กมักทำตัวแข็งเกร็งในช่วงวัยทารก
- ร้อยละ 32 มีปัญหาการนอน
- ร้อยละ 31 มีปัญหาการรับทานอาหาร
- ร้อยละ 28 มีปัญหาการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงสถานที่
- ร้อยละ 24 มีรายงานจากผู้ปกครองว่าเด็กเดินได้ก่อนวัย
( May-Benson, Koomar, & Teasdate, 2006 )
ประเภทของความผิดปกติของการบูรณาการประสาทความรู้สึสมอง
Sensory Modulation Disorder : มีปัญหาในการปรับระดับข้อมูลความรู้สึก
คำจำกัดความ : ปัญหาในหารความคุมตนเอง ต่อความเข้มข้นและการตอบสนองต่อข้อมูลความรู้สึกที่รับเข้ามา
- ลักษณะอาการของความผิดปกติ
- ตอบสนองทางลบอย่างมากต่อการกระตุ้นการรับความรู้สึก ซึ่งเด็กทั่วไปไม่มีปัญหา
- อาจเป็นการตอบสนองทางอารมณ์ หรือพฤติกรรม
- อาจประกอบด้วยการตอบสนองที่มากเกินไปต่อการรับความรู้สึกทั้งหมด แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ การกระตุ้นทางระบบสัมผัสผิวกาย และการมองเห็น
- ปัญหาอาจมากขึ้นเมื่อเกิดความเครียด อาจแปรปรวนตามเวลา และอาจขึ้นอยู่กับสถานการณ์
Somatosensory Processing disorder : ปัญหาในการแยกแยะข้อมูลความรู้สึก
คำจำกัดความ : คือปัญหาในการการตีความ หรือแปลผลของข้อมูลความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากบริเวณกล้ามเนื้อ ผิวหนัง และเอ็นข้อต่อ ซึ่งเป็นสาเหตุของความบกพร่องในการรับรู้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย (Poor body awareness)
- ลักษณะอาการของความผิดปกติ
- ความบกพร่องในการแยกแยะ (recognition) และการแปลผล (interpretation) ของการกระตุ้นระบบสัมผัส
- ความบกพร่องในการตรวจหาความแตกต่าง หรือความคล้ายกันของข้อมูลที่กระตุ้น เช่น การออกแรงจับสิ่งของที่มากเกินไป ทำของเล่นหักบ่อย
- มักเกิดขึ้นร่วมกับความบกพร่องในการวางแผนการเคลื่อนไหว ( Dyspraxia ) หรือความบกพร่องของการพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก ( Poor fine motor skill development )
Postural-Ocular Disorder : ปัญหาในการควบคุมการทรงท่าและการควบคุมกล้ามเนื้อตา
คำจำกัดความ : ปัญหาเกี่ยวการควบคุมหรือการทรงท่าของร่างกายขณะทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวต้านแรงดึงดูดของโลก (anti-gravity activities)
- ลักษณะอาการของความผิดปกติ
- มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อมาก หรือน้อยเกินไป ( Hyper or hypotonic muscle tension/tone ) หรือข้อต่อขาดความมั่นคง ( Joint instability )
- มีความบกพร่องในการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อ ( Poor muscle co-contraction ) ต่อการเคลื่อนไหวต้านแรงโน้มถ่วงของโลก หรือการควบคุมการทรงท่า (Postural control)
- มีความยากลำบากในการควบคุมสั่งการกล้ามเนื้อตา ( oculo-motor control ) ที่ช่วยควบคุมการมองเห็น
- มักเกิดขึ้นร่วมกับปัญหาของระบบการรักษาสมดุลการทรงตัว (vestibular), ระบบการได้ยิน (auditory) หรือระบบการมองเห็นและการเคลื่อนไหว (visual motor problems)
Dyspraxia : ปัญหาในการวางแผนการเคลื่อนไหว
คำจำกัดความ : การขาดความสามารถในการวางแผน (plan) จัดลำดับ (sequence) และการตอบสนองเคลื่อนไหว (execute) ต่อกิจกรรมที่ไม่คุ้ยเคย
- ลักษณะอาการของความผิดปกติ
- เคลื่อนไหวเก้งก้าง ขาดสหสัมพันธ์ ซึ่งเกิดขึ้นร่วมกับความบกพร่องในการประมวลผลประสาทความรู้สึก
- มักเกิดขึ้นร่วมกับปัญหาการับรู้มองเห็นร่วมกับการเคลื่อนไหว หรือปัญหาพัฒนาการทางด้านภาษา
- มีปัญหาการเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวถึงแม้เป็นทักษะที่ใกล้เคียงกัน
- มีความบกพร่องในการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ
ลักษณะพฤติกรรมและอาการอื่นๆ ทั่วไป (Common Sing and Symptoms)
Sensory Modulation Disorder
- หลีกหนีการสัมผัสแบบแผ่วเบาและการสัมผัสที่ตนเองไม่ทันคาดคิด เช่น การสัมผัสเพื่อทักทาย ฉลากป้ายคอเสื้อ
- ไม่ชอบกิจกรรมที่มีการสัมผัสที่ตนเองไม่ทันคาดคิด เช่น การสระผม การแปรงฟัน การตัดผม หรือตัดเล็บ
- สำรอกบ่อย ปฏิเสธการกินอาหารบางอย่าง เลือกกิน
- หลีกเลี่ยงความสกปรก หรือพื้นผิวสัมผัสบางอย่าง เช่น โลชั่น กาว อาหารที่มีซอส
- ชอบใส่เสื้อผ้าคับๆ มีความพึงพอใจอย่างมากต่อบางเนื้อผ้า หรือแบบแนบเนื้อ
- ตอบสนองต่อเสียง หรือแสงไวกว่าเด็กทั่วไป
Somatosensory Processing Disorder
- มีความยากลำบากในการติดกระดุม
- มีความยากลำบากในการจัดการกับวัตถุชิ้นเล็กๆ
- มีความยากลำบากในการแยกแยะ เสียง ภาพ พื้นผิวสัมผัส หรือการสัมผัสที่คล้ายกัน
- มีความยากลำบากในการปรับทิศทางและการออกแรงเคลื่อนไหว เช่น จับดินสอแน่นเกินไปหรือเบาเกินไป ออกแรงมากเกินไป หรือทำกระดาษขาดเวลาลบคำผิด
- มีความยากลำบากในการปรับสมดุลย์การทรงตัว
- มีความยากลำบากในการปรับความเร็วในการเคลื่อนไหว
Postural-Ocular Disorder
- มีบกพร่องในการควบคุมการทรงท่า ( Poor postural control ) เช่น นั่งตัวตรงทำกิจกรรมได้ไม่นาน
- บกพร่องในการควบคุมและปรับการทรงท่าขณะเคลื่อนไหว ( Poor dynamic body righting or equilibrium )
- เลี่ยงการลงน้ำหนักที่รยางค์ส่วนบนของร่างกาย เช่น ฝ่ามือ ข้อศอก ( Avoids weight bearing on upper extremities )
- มีความยากลำบากในการแยกการทำงานระหว่างศรีษะและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อตา หรือการกวาดสายตา หรือปรับสายตา เช่น ขณะอ่านหนังสือ หรือคัดลอกคำจากกระดาน
- หลีกเลี่ยงการปีนป่าย กลัวที่สูง หรือ การเล่นอุปกรณ์แกว่งไกวในสนามเด็กเล่น
- เหนื่อยง่าย
- ไม่แสดงความเด่นของมือข้างที่ถนัด
Dyspraxia
- ขาดทักษะในการดูแลสุขอนามัยร่างกายาของตนเอง
- ขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ดินสอ กรรไกร หรือเครื่องใช้ต่างๆ
- ขาดทักษะในการเล่นกีฬา
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมใหม่ๆ
- มีความยากลำบากในการเปลี่ยนแปลงกิจกรรม
- ต่อต้านสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากกิจวัตรประจำวัน
- ขาดทักษะในการเล่น มักชอบเล่นกับเด็กที่อายุน้อยกว่า
- บกพร่องในการพูด ( Poor articulation )
- บกพร่องในการรับรู้ร่างกายของตนเอง ( Poor awareness of body in space )
- ยากลำบากในการเล่นบอล
ผลกระทบของปัญหาการบูรณาประสาทความรู้สึกของเด็กแต่ละกลุ่มที่โรงเรียน และบ้าน
ผลกระทบที่โรงเรียน
Sensory Modulation Disorder
- ปรับตัวในการทำกิจวัตรประจำวันที่โรงเรียนได้ยาก (ครูมักเรียกว่าเป็นเด็ก “specials”,etc.)
- ขาดทักษะการจัดการ ( Organizational ) ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานสำเร็จด้วยตัวเอง
- ขาดทักษะการจัดการตนเอง ( self-management ) ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัว ( การทานอาหาร ช่วงหยุดพักผ่อน เป็นต้น )
- ขาดทักษะทางสังคม ไม่มีเพื่อนสนิท
- ระดับความตื่นตัวไม่คงที่ เข้ากับเพื่อนไม่ได้
Somatosensory Processing Disorder
- ต้องการความช่วยเหลืออย่างมากในการแต่งตัว เมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน
- มีปัญหาในการดูแลความสะอาด และแต่งตัวของตนเอง จนเป็นที่สังเกตของเพื่อน
- อาจไม่ค่อยรับรู้ความสะอาดของตนเองหลังจากทานอาหาร หรือ ขับถ่าย เป็นต้น
- ไม่เป็นระเบียบ เสื้อผ้าหลุดลุ่ย บกพร่องในการดูแลเครื่องแต่งกายตนเอง
- ชนล้มบ่อย มีรอยฟกช้ำมากกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน
- มีปัญหาในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์การเรียน เนื่องมาจากความบกพร่องของการสัมผัสเคลื่อนไหว
Postural-Ocular Disorder
- ยากลำบากยากลำบากในคงสายตาที่มือขณะทำกิจกรรมกล้ามเนื้อมัดเล็ก
- ความทนทานของกล้ามเนื้อในการทรงท่าต่ำ ทำให้นั่งทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความละเอียดของมือได้ไม่ดี
- ควบคุมกล้ามเนื้อตาได้ไม่ดี ทำให้มีความยากลำบากในการอ่านจับใจความ
- มีปัญหาในการควบคุมจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องเรียน
- พูดไม่ชัด และทักษะการฟังไม่ดี
Dyspraxia
- ขาดทักษะการรับรู้ช่องว่าง ทำให้ส่งผลต่อการสะกดคำ และการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์
- มีปัญหาในการลำดับ (sequencing) การเคลื่อนไหวส่งผลต่อทักษะการเขียน
- ปัญหาในการวางแผนและลำดับการเคลื่อนไหว
ผลกระทบที่บ้าน
Sensory Modulation Disorder
- มีความยากลำบากในการปรับระดับความตื่นตัว และการควบคุมตนเอง ผู้ปกครองต้องคอยช่วยเป็นพิเศษ
- การตอบสนองที่มากเกินไปของระบบการรับความรู้สึกส่งผลให้เด็กมีปัญหาการทานอาหาร หรือการใส่เสื้อผ้า
- มีข้อจำกัดในการเล่น ทำให้สำรวจเรียนรู้สิ่งต่างได้น้อย
- ประเด็นเรื่องความตื่นตัว ( ความตื่นตัวต่ำ หรือสูงมากเกินไป ) มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของสมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว
- ปัญหาทางด้านอารมณ์ ส่งผลกระทบต่อสมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว
Somatosensory Processing Disorder
- ไม่ค่อยระวังเรื่องความปลอดภัยของตนเอง ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย และเป็นเหตุให้ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อย
- ความบกพร่องของทักษะการเคลื่อนไหว ส่งผลต่อการทำงานที่ต้องใช้เวลา และงานที่ต้องมีการจัดการ
- การใส่เสื้อผ้าที่จำกัด หรือทรงผมที่จำกัด มีผลต่อภาพลักษณ์ของเด็ก
- เมื่ออยู่ชั้นประถมศึกษา 3 จะมีประเด็นเรื่องความมั่นใจในตนเองที่ส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
Postural-Ocular Disorder
- ขาดทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ส่งผลต่อ การพัฒนาทักษะการดูแลตนเอง
- ต้องการความช่วยเหลือในการเรียนรู้อย่างมาก ส่งผลต่อการพัฒนาวุฒิภาวะทางสังคม
- ความทนทานของกล้ามเนื้อต่ำส่งผลต่อความพึงพอใจในการเล่น และการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว
- มักถูกขับออกจากทีมการเล่น หรือ กิจกรรมกลุ่ม
- อาจมีประเด็นเรื่องน้ำหนักตัวมากเกินไป
Dyspraxia
- ใช้ความรู้ในเรื่องทักษะทางสังคมเพื่อกลบเกลื่อนปัญหาสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหว
- ปัญหาการทรงตัวส่งผลต่อการเล่น ( การขี่จักรยาน เล่นสเกต เป็นต้น )
- ยากต่อการเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวใหม่ๆ ที่มีลำดับขั้นตอน ( เช่น การถักเชือกรองเท้า กระโดดเชือก หรือเกมส์ตบมือ )
- การขาดทักษะในการจัดการกับตนเอง ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว
อ้างอิง : www.doverehab.com/SI_Facts_for_MD_s_1_
Ayres, A. J (2005) Sensory Integration and the Child Los Angeles: WPS
Beil, L and Peske, N (2005) Raising a Sensory Smart Child
Aquilla, P, Sutton, S, and Yack, E (2003) Building Bridges through Sensory Integration
Koomar, J, Kranowitz, C, Sklut, S (2001) Answers to Questions Teachers ask about Sensory Integration
แปลและเรียบเรียงโดย Mind Brain & Body