Sensory sensitivities of gifted children
การศึกษา ความไวทางระบบประสาทสัมผัสของเด็ก Gifted
เด็ก Gifted จะมีระบบประสาทสัมผัส ในการรับ และตอบสนองข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป จากการศึกษาของ Galton ได้ศึกษาใน เด็กที่มี IQ สูงกว่าเด็กทั่วไป พบว่าเด็กใช้ cognitive skill ในการทำงานมากกว่า แต่มีข้อมูลที่พบว่า 20-25% ของเด็ก Gifted มีความยากลำบากในการเข้าสังคม และแยกตัวออกจากสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากหลายๆ ปัจจัย รวมถึง sensory processing
Giftedness
หมายความว่า เป็นผู้ที่มีความสามารถที่โดดเด่น มีการใช้ทักษะความสามารถได้ดี มีสติปัญญาสูง มีความฉลาดในการเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความสามารถในการเป็นผู้นำ สำหรับการศึกษานี้ ได้ใช้แบบประเมินสติปัญญามาตรฐาน Wechsler Intelligence Scales for Children-Third Edition ซึ่งเด็กจะต้องได้คะแนนสูงกว่าค่ากลางของการทดสอบ
Sensitivity of gifted children
มีหลายๆ งานวิจัยที่พบว่า เด็ก Gifted อาจมีการตอบสนองที่ไวกับตัวกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมอย่างมาก Silverman กล่าวว่า บุคคลที่มีบุคลิกภาพที่ มีการตอบสนองไว มีไหวพริบไว มีความกระตือรือร้น และ perfectionism มักมีความเชื่อมโยงกับเด็ก Gifted
Sensory integration
ทฤษฏีการบูรณาการประสาทความรู้สึก ของระบบประสาทที่สมองเกิดการจัดการหรือจัดระเบียบสิ่งเร้าความรู้สึกเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ สมองประมวลผลข้อมูลจากสิ่งเร้าหลายทาง ที่จะสร้างความสมดุลภายใน และเกิด Adaptive response ผ่านกระบวนการ modulate ของระบบประสาท ซึ่ง Wilbarger และ Stackhouse ให้ความหมายของ sensory modulation ว่าเป็นปริมาณของความรู้สึกของกลไกกระบวนการประมวลผลความรู้สึก เช่น ระดับความเข้ม และคุณภาพของการตอบสนอง มีการประมวลผลที่เป็นไปตามสิ่งแวดล้อม ตัวกระตุ้น ที่อยู่ในช่วง optimal performance และ Ayres กล่าวว่า sensory modulation เป็น Dynamic process ที่ช่วยให้บุคคลทำงานได้ดีเมื่อมีปฏิสัมพันธ์ และการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ เมื่อเด็กได้รับ sensory input ที่ไม่ถูกต้องชัดเจน เกิดจากความบกพร่องทางการบูรณาการประสาทสัมผัส ซึ่งเป็นความสามารถในการประมวลผลข้อมูล และการตอบสนองที่เกิดความวุ่นวาย ล่าสุดมีการวิจัยว่า Gifted มีความเสี่ยงที่จะมีความไวทางระบบประสาทที่รุนแรง และความไวทางอารมณ์และร่างกาย ต่อสภาพแวดล้อม ที่อาจส่งผลในการปรับตัวทางสังคม
ผู้เข้าร่วม และวิธีการ
ข้อมูลถูกรวบรวมจากเด็ก Gifted จำนวน 80 คน อายุ 6-7 ปี ที่เข้าร่วมโครงการ Gifted ในโรงเรียนประถมศึกษา โดยให้ผู้ปกครองตอบแบบสอบถาม Sensory Profile มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การเปรียบเทียบความไวทางประสาทสัมผัสของเด็ก Gifted กับเด็กปกติ 2) เพื่อทดสอบและเปรียบเทียบความสอดคล้องภายในของ sensory profile และ sensory factors
ผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่าเด็ก Gifted มีระบบประสาทที่ไวต่อสิ่งแวดล้อม และการตอบสนองทางอารมณ์และพฤติกรรมที่ไวกว่าเด็กทั่วไป และการเปรียบเทียบความสอดคล้องภายใน พบว่ามีความสอดคล้องกันระหว่างทั้งสองกลุ่ม
การอภิปรายผล
เด็กที่มีสติปัญญาที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย จะสามารถใช้ทักษะการรู้คิดที่ดีกว่าเด็กทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม เด็ก Gifted ก็ยังมีปัญหาการเข้าสังคม และมักจะแยกตัวออกจากสังคม นอกจากนี้เด็กยังมีอารมณ์ที่อ่อนไหวง่าย และตอบสนองอย่างรวดเร็ว กว่าเพื่อนที่อยู่วัยเดียวกัน เด็กมีความไวของระบบประสาทต่อสภาพแวดล้อมที่มากกว่าเด็กทั่วไป จึงส่งผลให้เมื่อเด็กได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสที่เข้ามาทำให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่สบายหรือปลอดภัย และเกิดการตอบสนองที่เป็นพฤติกรรมและอารมณ์ ซึ่งจริงๆแล้วเด็กเหล่านี้มีความบกพร่องทางการประมวลผลระบบประสาท ที่จะนำไปสู่ปัญหาการทำงาน และปัญหาทางอารมณ์ นอกจากนี้ผู้ที่มี sensory over responsivity พบว่า พวกเขามีปัญหาทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิด โมโห ก้าวร้าว หรือหลีกหนี ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาที่ทำงานกับเด็ก Gifted อาจนำไปประยุกต์ เช่น การพัฒนาการจัดที่นั่งของเด็กในชั้นเรียน หรือการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก เพื่อพัฒนาการประมวลผลทางประสาทสัมผัสและเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็ก และเพื่อให้ทราบถึงการประมวลผลสิ่งเร้าประสาทสัมผัสที่แตกต่างของเด็ก Gifted โดยต้องเข้าใจว่ามีผลกระทบต่อเด็กทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งเด็กเหล่านี้อาจแสดงปฏิกิริยาหรือการตอบสนองที่แตกต่างไปจากเด็กทั่วไป และต้องเข้าใจถึงความไวทางประสาทสัมผัสของเด็ก ว่าพวกเขาไม่ได้จงใจแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจพิจารณาปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในบ้าน และปรับเปลี่ยนเทคนิคการเลี้ยงดูบนพื้นฐานของความเข้าใจเด็ก
Douglas R. Gere, Steve C. Capps, D. Wayne Mitchell, Erin Grubbs.(2009).
American Journal of Occupation Therapy, 64, 288-295
แปลและเรียนเรียงโดย Mind Brain & Body Child Development Center