http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม1,009,278
เปิดเพจ1,229,610

สมาธิสั้น และภาวะหลีกหนีการสัมผัส

สมาธิสั้น และภาวะหลีกหนีการสัมผัส

Somatosensory function in boy with ADHD and Tactile defensiveness

การตอบสนองของระบบการรับความรู้สึกทั่วไปในเด็กสมาธิสั้น

และภาวะหลีกหนีการสัมผัส

การปรับระดับสิ่งเร้าความรู้สึก (Sensory Modulation) คือ ความสามารถในการควบคุม และจัดระเบียบทั้ง ระดับความเข้ม และการตอบสนองตามธรรมชาติ ของการรับความรู้สึก โดยการปรับระดับ และปรับเปลี่ยนสิ่งเร้าความรู้สึกให้เกิดการตอบสนองอย่างเหมาะสม

            ความผิดปกติในการปรับระดับสิ่งเร้าความรู้สึก (Sensory Modulation Disorder : SMD)   เป็นความผิดปกติเฉพาะบุคคลที่แสดงให้เห็นการตอบสนองที่เกินจริง (การหลีกหนี  และต่อต้าน) หรือการตอบสนองที่ไม่เหมาะสมต่อการรับความรู้สึก         เป็นความผิดปกติที่เป็นผลมาจากการประมวลผลของระบบรับความรู้สึก ประกอบด้วย  ระบบการรับสัมผัส  การรับรู้การทรงตัว  การได้ยิน การได้กลิ่น     ความสามารถในการประมวลผลการรับความรู้สึกเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก  ประสิทธิภาพของการประสานสัมพันธ์กันระหว่างร่างกาย  สภาพแวดล้อม  และความสามารถที่เหมาะสม  และการทำกิจวัตรประจำวัน

            ความบกพร่องในการปรับระดับสิ่งเร้าความรู้สึก (Sensory Modulation Deficits : SMDs)  เป็นคำจำกัดความที่องค์กรสุขภาพโลก (World Health Organizing : WHO) ใช้เพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความบกพร่องนี้ที่เป็นอุปสรรคในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของเด็ก และภาวะหลีกหนีการสัมผัสก็เป็นหนึ่งในกลุ่มย่อยของความผิดปกติในการประปรับรับระดับสิ่งเร้าความรู้สึก (SMD) ที่อยู่ในมุมมองของงานวิจัยนี้

วัตถุประสงค์การวิจัย

การศึกษานี้ต้องการที่จะทดสอบความบกพร่องในการทำงานของการรับความรู้สึกทั่วไป ในเด็กที่มีสมาธิสั้น  และภาวะหลีกหนีการสัมผัส

กระบวนการวิจัย

            กลุ่มศึกษาประกอบด้วยเด็กจำนวน  127 คน ที่มีอายุระหว่าง 5 – 11 ปี ถูกทำการทดสอบ เพื่อแยกกลุ่มศึกษาโดยสามารถแยกออกเป็น 1.กลุ่มเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยทางการแพทย์ว่ามีสมาธิสั้น  ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มย่อย  2  กลุ่ม  คือ  กลุ่มที่มีภาวการณ์หลีกหนีการสัมผัสร่วมด้วย และกลุ่มที่ไม่มีภาวการณ์หลีกหนีการสัมผัสร่วม  จำนวน  67 คน  และ 2. กลุ่มควบคุม ประกอบด้วยเด็กปกติจำนวน  60 คน

เครื่องมือที่ใช้ทำการทดสอบประกอบด้วย

1. แบบสอบถามการประเมินระบบการสัมผัสสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน (Touch inventory for  preschool : TIP)  เพื่อคัดแยกเด็กที่มีการรับสัมผัสที่ไวมากกว่าปกติ

2. การวัดการตอบสนองของการรับความรู้สึก (Sensory reaction  score) เพื่อแยกแยะความแตกต่างระหว่างเด็กที่มี  และไม่มีภาวการณ์หลีกหนีการสัมผัส

            3. การทดสอบการประมวลผลการรับความรู้สึก และการเคลื่อนไหว (Sensory Integration  and Praxis Test : SIP )  เป็นเครื่องมือมาตรฐานใช้ประเมินการประมวลผลการรับความรู้สึกของเด็ก ประกอบด้วยการทดสอบย่อย 5 หัวข้อ ประกอบด้วย  Finger identification, Graphesthesia, localization of tactile stimulation, manual form perception และ kinesthesia

            4. การนำศักย์ไฟฟ้าของระบบประสาทการรับความรู้สึกทั่วไป (Somatosensory evoke  potential : SEP)  โดยทำการบันทึกการนำกระแสประสาทของเส้นประสาท  Median  nerve บริเวณข้อมือ  ขณะที่เด็กดูการ์ตูนจากจอแสดงผล

ผลการวิจัย

กลุ่มเด็กสมาธิสั้นที่มีภาวะหลีกหนีการสัมผัส  และกลุ่มสมาธิสั้นที่ไม่มีภาวะหลีกหนีการสัมผัส  พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างการทดสอบระดับการตอบสนอง  และการรับรู้ (Threshold and Perceptual test scores) ยกเว้น การทดสอบ การแยกแยะการสัมผัสของนิ้ว (Finger identification) กลุ่มเด็กสมาธิสั้นที่มีภาวะหลีกหนีการสัมผัสจากการทดสอบการนำศักย์ไฟฟ้าของระบบประสาทการรับความรู้สึกทั่วไป (Somatosensory  evoke  potential : SEP)  พบค่าแอมพิจูดที่สูง เมื่อเทียบกับกลุ่มเด็กสมาธิสั้นที่ไม่มีภาวะหลีกหนีการสัมผัส

สรุปผลการวิจัย

กลุ่มเด็กสมาธิสั้นที่มีภาวะหลีกหนีการสัมผัส  มีความเกี่ยวข้องกับการประมวลผลส่วนกลางของข้อมูลของระบบการรับความรู้สึกทั่วไป (Somatosensory information) เด็กที่มีภาวะหลีกหนีการสัมผัสมีการตอบสนองของการรับความรู้สึกทั่วไปที่แตกต่างไปจากการตอบสนองของเด็กปกติ  และพบความเกี่ยวข้องระหว่างความผิดปกติในการปรับระดับสิ่งเร้าความรู้สึก (Sensory modulation  disorder) กับ ความผิดปกติของการประมวลผลของระบบประสาทส่วนกลาง ในกลุ่มประชากรเพศชาย  พบข้อมูลที่สนับสนุนว่าเด็กมีภาวะหลีกหนีการสัมผัส คือ เอกลักษณ์ที่ไม่สามารถแยกแยะได้  ซึ่งสามารถระบุได้โดยการตอบสนองทางสรีรวิทยาจากการกระตุ้นการรับความรู้สึกทั่วไป พบข้อมูลที่สอดคล้องกันว่าภาวะหลีกหนีการสัมผัส และความผิดปกติในการปรับระดับสิ่งเร้าความรู้สึก (Sensory  modulation  disorder)  มีความเกี่ยวข้องกับการถูกขัดขวางของการยับยั้งระบบประสาท ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะหลีกหนีการสัมผัส ที่พบมากในกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ของเด็กสมาธิสั้น (46/67) อาจเกี่ยวเนื่องกับการพบ Central hypoperfusion (การไหลเวียนของเลือดในสมองที่ต่ำกว่าระดับปกติ)  กรณีศึกษาเด็กสมาธิสั้น จำนวน 3 คน ได้รับการอธิบายถึงประโยชน์ของการให้ Valproate (EVA) ในเด็กที่พบอาการทางคลินิก และการมีลดลงของ Giant  SEPs   เนื่องจาก EVA  ใช้เพื่อควบคุมระดับความเหมาะสมของ aminobutyric acid (GABAergic agent) และ Primary inhibitation transmitter ในระบบประสาทส่วนกลาง 

S. Parush , H. Sohmor , A. Steinberg , M. Kaitz

Elsevier, Physiology & Behavior journal ฉบับที่ 90 ปี 2007, 553-558.

แปลและเรียนเรียงโดย Mind Brain & Body Child Development Center

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view