Neurodevelopmental Therapy
(Inhibition of Primitive Reflexes)
ประสาทพัฒนาการบำบัด (การยับยั้งปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั้งเดิม)
พัฒนาการของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS: Central Nervous System) นั้นมีความซับซ้อน และมีหลายปัจจัยที่มีส่วนทำให้แต่ละคนมีความแตกต่างกัน การทำความเข้าใจพัฒนาการของระบบประสาทส่วนกลางนั้นเริ่มต้นจากความรู้ในเรื่องลำดับขั้นปกติของพัฒนาการ
ส่วนหนึ่งที่ทำให้รู้ถึงลำดับขั้นของพัฒนาการก็คือลักษณะของการเคลื่อนไหวในแต่ละระดับ ซึ่งเรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reflexes) ในแต่ละลำดับของปฏิกิริยาสะท้อนกลับจะเป็นส่วนสำคัญในพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็ก ดังนั้นปฏิกิริยาสะท้อนกลับในแต่ละลำดับขึ้นจึงมีความสำคัญต่อดำรงชีวิตตั้งแต่ช่วงวัยทารกจนถึงวัยเตาะแตะ
ปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั้งเดิม (Primitive Reflex) คืออะไร
* ปฏิกิริยาเพื่อการเอาชีวิตรอดที่เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับขึ้นตั้งแต่ช่วงทารกหลังคลอด
* เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ในรูปแบบการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ที่ควบคุมโดยก้านสมอง (brain stem)
* อยู่นอกเหนือการควบคุมของสมองขั้นสูง (the cortex) จะสมบูรณ์และสิ้นสุดลงในช่วงต้นของชีวิต และเปลี่ยนเป็น ปฏิกิริยาการทรงท่า ที่ควบคุมโดยสมองขึ้นสูง
* สามารถตรวจพบได้ถ้าหากแต่ละระดับไม่ได้รับการพัฒนาจนสมบูรณ์
What are the consequences
อะไรคือผลจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับ
ในสภาวะปกติปฏิกิริยาสะท้อนกลับจะยุติลง และพัฒนาไปสู่การควบคุมการเคลื่อนไหวที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ (voluntary control) ที่ซับซ้อนมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีหลายสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนา เช่น ปัจจัยด้านพันธุกรรม (genetic predisposition)หรือกรรมพันธุ์ ความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ อุบัติเหตุระหว่างคลอด หรือขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม แต่พบได้น้อย
งานวิจัยในประเทศอังกฤษ และสวีเดน ชี้ให้เห็นว่า ถ้ายังพบปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั้งเดิม (primitive reflex) ยังหลงเหลืออยู่อาจขัดขวางการพัฒนาการควบคุมการเคลื่อนไหว (motor control) การรับความรู้สึก (sensory perception) สหสัมพันธ์ตาและมือ (eye-hand coordination) และการเรียนรู้ (cognition)
Signs of Neuro-Developmental Delay
สัญญาณของปัญหาประสาทพัฒนาการล่าช้า
- ความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ (Dyslexia / Learning disabilities) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการอ่าน การสะกดคำ และ ความรู้ความเข้าใจ (comprehension)
- บกพร่องด้านการเขียน ( Written expression )
- บกพร่องทักษะการเรียงลำดับ ( Sequencing skills )
- บกพร่องในการเข้าใจเรื่องเวลา ( sense of time )
- บกพร่องด้านทักษะการมอง หรือประมวลผลข้อมูลจากการมอง ( Visual function/processing )
- ประมวลผลข้อมูลช้า (slow in processing information)
- ปัญหาสมาธิ และช่วงความสนใจ (attention and concentration)
- ไม่สามารถนั่งอยู่กับที่ หรือยุกยิกไม่นิ่ง ( Fidgeting )
- บกพร่องทักษะการจัดการ ( Organizational skills )
- หันเหความสนใจง่าย และหรือหุนหันพลันแล่น (distracted and/or impulsive)
- สมาธิสั้นแบบไม่อยู่นิ่ง ( Hyperactivity )
- ไวต่อเสียง แสง หรือการสัมผัสมากเกินไป (hypersensitivity)
- มีปัญหาการวางแผนการเคลื่อนไหว (Dyspraxia) หรือปัญหาด้านการพูด ( Speech problem ) หรือพัฒนาการทางด้านภาษาล่าช้า (language delays)
- ปัญหาการเคลื่อนไหว สหสัมพันธ์ และการทรงตัว
- บกพร่องการทรงท่า และหรือท่าเดินงุ่มง่าม (awkward gait)
- บกพร่องทักษะการเขียน ( Handwriting )
- บกพร่องด้านการรับรู้มิติสัมพันธ์ (Spatial awareness)
- บกพร่องสหสัมพันธ์มือ และตา
- บกพร่องทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก
- ยากลำบากในการเรียนว่ายน้ำ หรือการขับจักรยาน
- งุ่มงาม หรือหกล้มง่าย
- คัดลอกงานช้า
- สับสนระหว่างซ้าย และขวา
- เขียนตัวอักษร หรือตัวเลขกลับหัวกลับหาง และมีปัญหาข้ามแนวกลางลำตัว (midline problems)
- มีประวัติคลอดยาก
- ประวัติบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุทางสมอง
- โกรธง่าย ขี้หงุดหงิด ความอดทนต่ำ
- ยังพบฉี่ใส่ที่นอนหลังอายุ 5 ขวบ
- เวียนศีรษะง่าย
- ไม่สามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ยึดติด
- กลัวไม่ชอบไปโรงเรียน (school phobia)
- ขาดแรงจูงใจ หรือขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง
- ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือเครียด
- ปัญหาพฤติกรรม ความมั่นใจในตัวเอง และแรงจูงใจ โดยปัญหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้น
The Primitive reflex: ปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั่งเดิม
1. Moro reflex เป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับขั้นแรกๆ ของรูปแบบ การตอบสนองในลักษณะสู้ หรือถอยหนี (fight or flight) ในการตอบสนองต่อความเครียด ถูกยับยั้งในช่วง 2-4 เดือน หากยังพบหลงเหลืออยู่จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็ก เนื่องจากปฏิกิริยานี้ไปกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนความเครียด (adrenaline and cortisol) http://www.youtube.com/watch?v=U1gy_anS2DE
2. Palmar reflex เป็นปฏิกิริยาการกำของเด็กทารก (grasp reflex) และถูกพัฒนาแทนที่ด้วยการใช้นิ้วหยิบอย่างตั้งใจ (pincer grip) เมื่อเด็กมีอายุ 36 สัปดาห์ เป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับชนิดหนึ่งที่มีผลต่อการเขียน (Handwriting) การพูด การออกเสียง (articulation) ของเด็ก ปกติจะถูกยับยั้งเมื่ออายุ 2-3 เดือน ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่จะขัดขวางการพัฒนาความแม่นยำในการหยิบจับ และการเคลื่อนไหวของในมือ http://www.youtube.com/watch?v=TidY4XPnFUM
3. The Plantar reflex มีผลต่อการทรงตัว (Balance) และการเคลื่อนไหว (Mobility) ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่จะขัดขวางการคืบ การสลับแขนและขาคลาน (cross-pattern crawling) การพัฒนาสหสัมพันธ์ตาและมือ (hand-eye coordination) และการประมวลผลข้อมูลประสาทสมดุลการทรงท่า (vestibular) ร่วมกับข้อมูลความรู้สึกด้านอื่น มีผลต่อการปรับการทรงท่า (balance) การไขว้แนวกลางลำตัว (crossing the midline) http://www.youtube.com/watch?v=mJcIUnunlNI
4. The Rooting reflex ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 3-4 เดือน ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่อาจส่งผลต่อ การกลืน (swallowing) การรับประทานอาหาร ( feeding ) การพูด (speech) การออกเสียง (articulation) และความแม่นยำในการควบคุมมือ (Manual dexterity) ในเด็กโต
5. The Spinal gallant ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 3-9 เดือน ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่ อาจมีผลต่อการทรงท่า รูปแบบการเดิน หรือรูปแบบการเคลื่อนย้ายลำตัวอื่นๆ กระทบต่อการพัฒนาปฏิกิริยาสะท้อนกลับ amphibian และ segmental rolling reflexes เป็นสาเหตุของพฤติกรรมกระวนกระวาย (fidgeting) ฉี่รดที่นอน (bedwetting) มีปัญหาการจดจ่อ ปัญหาความจำระยะสั้น (short tern memory)
6. ATNR ( Asymmetrical tonic neck reflex ) เป็นปฏิกิริยาที่ฝึกการเคลื่อนไหวซีกหนึ่งของร่างกายให้เหยียดแขนและความสามารถในการมองจดจ่อได้ในระยะ 17 ซม. ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 6 เดือน ถ้ายังพบจะมีความยากลำบากในการเคลื่อนไหวข้ามแนวกลางลำตัว เคลื่อนไหวของในมือสองข้างพร้อมกันไม่ได้ มีปัญหาในการกวาดสายตาตามวัตถุ (ocular pursuit)) มีปัญหาการรับรู้ทางด้านสายตา (visual-perceptual)
7. TLR ( The tonic labyrinthine sreflex )
Forward ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 4 เดือน ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่ จะนำไปสู่ปัญหาการรับรู้มิติสัมพันธ์ (spatial problems) อาการเมารถเมาเรือ (motion sickness) มีปัญหาการทรงท่าและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (poor posture & muscle tone) มีปัญหาการรับรู้ทางสายตา (visual perception) มีปัญหาทักษะเรื่องลำดับ (sequencing skills) และมีปัญหาเกี่ยวกับเวลา (poor sense of time)
Back ward ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ถึง 3 ปี ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่จะทำให้มีปัญหาการทรงท่าและสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหว ทักษะการจัดการงาน (Organizational skill) และการเคลื่อนไหวขาดความราบรื่น (Stiff jerky movements)
The Primitive reflex
ปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั่งเดิม
พัฒนามาจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั้งเดิม และถูกสั่งการจากสมองขั้นสูง ถ้าไม่พบปฏิกิริยาสะท้อนกลับชนิดนี้แสดงว่าระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ยังพัฒนาไม่เต็มที่
1.The symmetrical tonic neck reflex : flexion and extension (STNR) ทดสอบขณะเด็กอยู่ในท่าคลาน 4 ขา เมื่อก้มศีรษะลงทำให้แขนพับงอ และขาเหยียดตรง เมื่อเงยศีรษะขึ้นทำให้ขางอและเหยียดตรง ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 9-11 เดือน ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่ส่งผลต่อการทรงท่า (posture) สหสัมพันธ์ตากับมือ (hand-eye coordination) และทักษะการว่ายน้ำ (swimming skill) เป็นเหตุให้เด็กมีแนวโน้มที่จะเสียการทรงตัวเวลานั่งเก้าอี้ เดินกางขาเหมือนลิง (ape-like walk) การเคลื่อนไหวงุ่มง่าม (clumsy child) มีความยากลำบากในการใช้สองตาร่วมกัน (binocular vision) คัดลอกงานช้า เวลาทานอาหารหกเลอะเทอะ
2.Landau reflex ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 36 เดือน จะเกิดขึ้นเมื่อปฏิกิริยาสะท้อนกลับ TLR และความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tone) มีการพัฒนา ทั้งปฏิกิริยา Landau reflex และ STNR ต่างก็ไม่ใช้ปฏิกิริยาดั่งเดิมหรือปฏิกิริยาการทรงท่า เนื่องจากไม่ได้มีมาตั้งแต่กำเนิด และไม่คงอยู่ตลอดไป ซึ่งทั้งสองเป็นปฏิกิริยาตัวเชื่อม (bridge) ที่สำคัญในการยับยั้งผลของ TLR ขณะที่ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ การทรงท่าและการเคลื่อนไหวของลูกตา (vestibule-ocular motor skill) มีการพัฒนา
3.The Transformed tonic neck reflex เกิดขึ้นช่วง 6-8 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต ถ้าพบปฏิกิริยาสะท้อนกลับนี้แสดงว่าการประมวลผลร่วมกันระหว่างร่างกายสองซีก (cross lateral integration) มีการพัฒนาที่เหมาะสม ถ้าไม่ปรากฏแสดงว่าปฏิกิริยาดั้งเดิม (primitive reflexes) บางตัวยังคงหลงเหลืออยู่ และขัดขวางการพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS)
4. The Amphibian reflex เกิดขึ้นช่วง 4-6 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต ถ้าไม่พบปฏิกิริยาสะท้อนกลับชนิดนี้แสดงว่าปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั่งเดิม (primitive reflexes) โดยเฉพาะ ATNR ยังไม่ถูกยับยั้ง ซึ่งจะขัดขวางพัฒนาการคลาน การเดิน และการวิ่ง
5. Segmental rolling reflex เกิดขึ้นช่วง 6-10 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต จำเป็นสำหรับการพัฒนาการประมวลผลร่วมกันระหว่างร่างกายสองซีกอย่างราบรื่นสัมพันธ์ (cross lateral movements) เช่น การเดือน การวิ่ง การกระโดด การกระโดดเชือก (skipping) การเดินแบบส่วนสนาม (marching) และการว่ายน้ำ
6. Oculo - head righting reflex (OHRR) เกิดขึ้นช่วง 2-3 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต มีความสำคัญสำหรับการควบคุมการทรงท่าร่วมกับการเคลื่อนไหวลูกตา ถ้าพัฒนาไม่เต็มที่จะทำให้มีปัญหาการกวาดตามอง (visual tracking) บางคนมีปัญหาเวียนศีรษะคลื่นไส้ (nausea) ปัญหาการรับรู้เวลา และสถานที่ (disorientation)
7. Labyrinthine-head righting reflex เกิดขึ้นช่วง 2-3 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต เป็นปฏิกิริยาที่มีทำงานร่วมกับระบบการทรงตัว (vestibular motor system) ทำงานร่วมกับปฏิกิริยาสะท้อนกลับ OHRR ซึ่งจำเป็นต่อการทรงตัว เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เด็กมีปัญหาการคัดลอกคำจากกระดาน เนื่องจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับ OHRR และ LHRR ไม่พัฒนาเต็มที่ ทำให้เด็กมีความยากลำบากในการอ่าน
ความคิดเห็น