Screen Time: The Impact on Kids and Parenting
เวลาหน้าจอ: ผลกระทบต่อเด็กและการเลี้ยงดู
New research explains the significant negative effects of excessive screen time.
Posted Aug 19, 2018 by Azmaira H. Maker Ph.D. Helping Kids Cope
ผู้ปกครองมักกังวลเกี่ยวกับระยะเวลาที่เด็กใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ว่าจะมีผลกระทบอย่างไรกับทักษะทางสังคม, แรงจูงใจ (motivation), สมาธิ, การควบคุมอารมณ์ (emotional regulation), และการทำงานของระบบประสาท (neurological functioning) ของพวกเด็ก ๆ การเข้าถึงได้อย่างง่ายดายในสื่อที่หลากหลาย (โทรทัศน์, iPads, คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์, และอื่นๆ) ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กลายเป็น “การเข้าสู่” (go to) ช่วงเวลาที่เงียบสงบ และจอยังกลายเป็นแหล่งข้อมูลหลักและความบันเทิงสำหรับเด็ก ๆ ดังนั้น ความกังวลเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่มีเหตุผลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาคมกุมารแพทย์เด็กสหรัฐอเมริกาประมาณการว่าเด็กในสหรัฐอเมริกาใช้เวลาโดยเฉลี่ย 7 ชั่วโมงต่อวันกับอุปกรณ์สื่อต่าง ๆ
คำถามสำคัญที่ต้องตั้งคือเวลาหน้าจอมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทหรือไม่ (ที่มีผลต่อการทำหน้าที่ของจิตใจ และพฤติกรรม) และหากเป็นเช่นนั้นแล้วจะมีผลกระทบต่ออะไรบ้าง? มีการวิจัยจำนวนมากที่ทำเกี่ยวกับเรื่องนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาที่แสดงให้เห็นหลักฐานดังต่อไปนี้
The Social and Emotional Effects: ผลกระทบทางด้านสังคมและอารมณ์
- เพิ่มความเครียด
- ใช้ระยะเวลามากขึ้นในการทำงานให้สำเร็จ
- เพิ่มระยะเวลาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (off-task time)
- เพิ่มความวิตกกังวลเมื่อไม่ได้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- เพิ่มความยุ่งยากและลดความตั้งใจอย่างจริงจังในการทำงานอย่างท้าทายและการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น
- อารมณ์หุนหันเพิ่มขึ้น
- การควบคุมอารมณ์ลดลง
- ลดความสามารถในการตระหนักรับรู้การแสดงอารมณ์ทางสีหน้า และภาษากาย
The Neurological Effects on the Developing Brain: ผลกระทบทางระบบประสาทต่อการพัฒนาสมอง
- สารโดปามีนหลั่งซ้ำ ๆ เพิ่มความสุขและการติด
- ติดการกระตุ้นอย่างเรื้อรัง ความพึงพอใจที่ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
- ลดช่วงสมาธิ และการจดจ่อ
- เพิ่มความตื่นตัว
- แสงสีฟ้า (Blue light) ปิดการทำงานของต่อมไพเนียล (pineal gland) ที่ทำหน้าที่ปล่อยสารเมลาโทนิน (ฮอร์โมนธรรมชาติที่กระตุ้นการนอนหลับ)
- ภาวการณ์นอนไม่เพียงพอ (sleep deprivation): คุณภาพและระยะเวลาในการนอนน้อย
- การรับรู้ความรู้สึกที่มากเกินไป (Sensory Overload)
Screen Addiction can also lead to: การติดจอยังสามารถนำไปสู่
- สมองเนื้อเทาหดตัว (grey matter shrinkage) (ที่ที่การประมวลผลเกิดขึ้น)
- สมองส่วนหน้าหดตัว (frontal lobe shrinkage) (ที่ทำงานสมองส่วนบริหารจัดการ EF ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน และการจัดการ)
- โครงสร้าง Striatum หดตัวลง (ที่ทำงานของวงจรรางวัล reward pathways และควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคม)
- ทำลายสมองกลีบ Insula (ที่ที่ความสามารถในการพัฒนาความเห็นอกเห็นใจและความเมตตาเกิดขึ้น)
- สูญเสียความสมบูรณ์ของสมองเนื้อขาว (white matter) (เส้นทางเชื่อมต่อสื่อสารภายในสมอง)
- การทำงานของความคิดบกพร่อง (impaired cognitive functioning)
- ลดจำนวนตัวรับสารโดปามีน (dopamine receptors) ที่เชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้า (depression)
งานวิจัยชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการสื่อสารระหว่างมนุษย์ (human to human) การมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันมีประโยชน์มากที่สุดต่อพัฒนาการทางอารมณ์-สังคมของเด็ก เวลาหน้าจออาจลดการมีส่วนร่วม, การสื่อสาร, การทำงานของกระบวนการคิด (cognitive functioning), การควบคุมอารมณ์ (emotional regulation), การนอน, สมาธิ, และการพัฒนาสมอง ดังนั้นที่สำคัญต่อไปสำหรับผู้ปกครอง, ครู, และผู้เชี่ยวชาญ คือการให้ข้อมูลที่ดีขึ้นว่าจะจัดการเวลาหน้าจอได้อย่างไรกับเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ ผู้ปกครองจำนวนมากยังคงมีปัญหาในการจัดการกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับเด็ก ๆ ซึ่งมักจะนำไปสู่:
Impact on Parenting: ผลกระทบต่อการเลี้ยงดู
- การต่อสู้ของอำนาจ (power struggles): ผู้ปกครองอาจประสบกับปัญหาการต่อสู้ของอำนาจอย่างมีนัยสำคัญกับเด็ก ๆ ในเรื่องการใช้เวลา และเนื้อหา (content) บนจอ การต่อสู้ของอำนาจจะสร้างความอับจน และทำให้ระบบของครอบครัวอ่อนแอลง
- ความขัดแย้งในครอบครัว: ผู้ปกครองอาจประสบกับปัญหาความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นการโต้เถียง, การตะโกน, การแหกกฎ, การโกง, และการต่อต้านในช่วงเวลาอยู่หน้าจอ
- ความขัดแย้งในการสมรส/การเลี้ยงดูร่วมกัน: บางครั้งผู้ปกครองไม่เห็นด้วยในกฎเกณฑ์, ขอบเขต, ข้อจำกัด, และบทลงโทษ ที่เกี่ยวกับการใช้จอ ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งในการสมรส/หรือการเลี้ยงดูร่วมกัน สิ่งนี้จะส่งข้อความที่สับสนไปให้เด็ก และจะทำให้เด็กโต้กลับในอนาคต
- ความรู้สึก: ผู้ปกครองและเด็กอาจประสบกับความรู้สึกที่ไร้ค่า, ความโกรธ, ความวิตกกังวล, ความสับสนที่เพิ่มขึ้น สิ่งนี้จะทำให้ทั้งสองฝ่ายพยายามใช้กำลังและการควบคุมมากขึ้น ดังนั้นการต่อสู้ของอำนาจจึงเพิ่มขึ้น
- ความไว้วางใจและการสื่อสาร: การต่อสู้ของอำนาจ, ความขัดแย้ง, และการพยายามควบคุม อาจลดความไว้วางใจและการสื่อสารเชิงบวกระหว่างผู้ปกครองและเด็กได้
- การตัดความสัมพันธ์: ผู้ปกครองและเด็กหลายคนอาจถอยห่าง และไม่ได้รับความสุขจากกันและกัน ซึ่งสร้างสร้างสภาวะที่ตึงเครียด หรือแม้กระทั่งสภาวะบ้านที่ขาดความเป็นมิตร
มีหลายหนทางที่ช่วยลดปัญหาการต่อสู้ของอำนาจ, ความขัดแย้งในครอบครัว, และความรู้สึกไร้ค่า โดยการจำกัดเวลาหน้าจอของเด็กในวิธีที่ดี ซึ่งอาจเป็นไปได้ดังต่อไปนี้:
Tips and Tools: เคล็ดลับและแนวทาง
Sleep: การนอน
- สมาคม The national Sleep Foundation แนะนำนอนคืนละ 9 ชั่วโมง
- ปิดไฟและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 8-9 ชั่วโมงสำหรับการนอนที่เพียงพอ
Time: เวลา
- สมาคม The American Medical Association แนะนำใช้เวลาหน้าจอ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
- สร้างพื้นที่ปราศจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์: เวลาอาหาร, ขณะขับรถ, เวลานอน, ที่โรงเรียน เป็นต้น
- จัดสรรเวลาพัก 10-15 นาที สำหรับลูกของคุณหลังจากอยู่กับคอมพิวเตอร์มานาน 30 ถึง 1 ชั่วโมง (brain re-set)
Parenting: การเลี้ยงดู
- หลีกเลี่ยงการต่อสู้เชิงอำนาจ (Disengage from power struggles)
- สร้างกฎ ระเบียบวินัย ความคาดหวังที่ชัดเจน (การขาดความคงเส้นคงวาจะนำไปสู่การเสริมแรงที่ไม่เนื่อง ทำให้คงและเพิ่มพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์)
- สร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง: ถ้ามีผู้เลี้ยงดู 2 คนหรือมากกว่า ทุกคนควรเห็นด้วยกับกฎ, ข้อจำกัด, และบทลงโทษ และบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกัน
- เสริมแรงเชิงบวกร่วมกับบทลงโทษที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติและการไม่ปฏิบัติตาม
- ส่งเสริมให้เด็กอ่านบทความงานวิจัยและข้อเท็จจริง เพื่อให้เด็กได้รับข้อมูลและความรู้
- ส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในการสนทนาเกี่ยวกับข้อดีและของเสียของสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- ส่งเสริม และจัดการให้เด็กมีกิจรรมนอกเวลา, กีฬา, งานอดิเรก และการเข้าสังคมมากเท่าที่จะทำได้
- เวลาครอบครัว: 30-60 นาที โดยไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, เล่าเรื่องสนุก, เรื่องที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
ท้ายนี้, งานวิจัยแนะนำว่าการใช้เวลาหน้าจอมากเกินไปมีผลเชิงลบโดยตรงต่อโครสร้างและการทำงานสมองส่วนหน้า (frontal lobe) และยังสามารถทำให้เกิดการติดได้เนื่องจากทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการทำหน้าที่และตัวรับขของสารโดปามี (dopamine functioning and receptors) สมองส่วนนี้ของเด็กนั้นยังจะไม่พัฒนาสมบูรณ์จนกว่าจะเขาสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ที่ผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการบริโภคสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของเด็ก ผู้ปกครอง, โรงเรียน, กุมารแพทย์, ผู้เชี่ยวชาญ, และนักวิจัย จำเป็นต้องให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด และกำกับเวลาหน้าจอทั้งในด้านโครงสร้างและความต่อเนื่องเพื่อสุขภาพที่ดีในพัฒนาการด้าน กาย-จิต-สังคม (bio-psycho-social) ของเด็ก
References
- www.aspiringfamilies.com/aspiring-families/investigating-the-effects-of-screen-time-on-children-can-screen-time-be-addictive-and-is-it-really-harmful-to-my-childs-cognitive-and-socio-emotional-development
- www.kappanonline.org/rosen-distracted-student-mind-attention
- Book: iGen: Why Today’s Super-Connected Kids Are Growing Up Less Rebellious, More Tolerant, Less Happy--and Completely Unprepared for Adulthood--and What That Means for the Rest of Us.
*** แปลและเรียบเรียงบทความจาก Azmaira H. Maker Ph.D. โดย Mind Brain & Body พ.ค. 2563 สืบค้นได้จาก https://www.psychologytoday.com/us/blog/helping-kids-cope/201808/screen-time-the-impact-kids-and-parenting