http://www.mindbrainchildactivity.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

 โปรแกรม Mind Brain

การทดสอบของศูนย์

 บทความน่าสนใจ

 ให้คำปรึกษาปัญหาเด็ก

 ภาพสถานที่

 ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กเชียงใหม่

งานวิจัยที่น่าสนใจ

สมาธิสั้น (ADHD) vs (SPD)

พัฒนาการเด็ก Developmental

การบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองของเด็ก SI

หนังสือแนะนำ

22 เหตุผลที่ทำไมเด็กถึงนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้

บุตรของท่านมีปัญหาพฤติกรรม หรือปัญหาเกิดจากความบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก

เคล็ดลับสำหรับเด็กที่มีปัญหาการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึก (Sensory Processing Disorder) ไม่ให้วุ่นวายในฤดูการท่องเที่ยว

เมื่อปัญหาในการบูรณาการประสาทความรู้สึกสมองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก

เด็กติดแม่ งอแง ร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาความเครียด หรือปัญหาภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation Anxiety)

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Child)

เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ (Gifted Children)

The Vestibular Sense/ระบบรักษาสมดุลการทรงตัว

ปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกพื้นฐานในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

The Tactile Sense; ระบบการรับสัมผัส

The Proprioceptive Sense ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ

ปัญหาพฤติกรรม (Behavior problems) ที่พบร่วมกับการบูรณาการประสาทความรู้สึกที่บกพร่อง (SID)

ปัญหาในการบูรณาการณ์ประสาทความรู้สึกพื้นฐานของเด็กที่ควรรู้

ภาวะหลีกหนีการสัมผัส TD

Sensory Integration & Sensory Integration dysfunction

ทักษะการเขียน : Handwritting

Special Education

สินค้า

 Siren Whistle

สถิติ

เปิดเว็บ03/08/2010
อัพเดท10/11/2023
ผู้เข้าชม1,009,276
เปิดเพจ1,229,608

เทคนิคการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

เทคนิคการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
Teaching Students with Learning Disabilities ; LD


         ครูการศึกษาพิเศษ (Special Educator) มีเทคนิคที่หลากหลายในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียน โดยแต่ละเทคนิคก็จะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน ให้มีความเหมาะสมกับวัย และศักยภาพของผู้เรียน ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เทคนิคการสอนแต่ละเทคนิคนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาหรือบทเรียนต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ซึ่งมีตัวอย่างดังต่อไปนี้


1. การวิเคราะห์งาน (Task analysis)

       คือการแยกงานย่อย หรือเนื้อหาวิชาที่ต้องการจะสอนเด็ก ในแต่ละครั้งของการสอนออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ หรือหลายขั้นตอนเล็กๆ โดยแต่ละขั้นตอนของงานจะเริ่มจากพฤติกรรมหรืองานที่เด็กทำได้ง่าย จากนั้นจึงเพิ่มความยากขึ้น

องค์ประกอบของการวิเคราะห์งาน (Elements of Task Analysis)

  1. งานหรือเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
  2. การวิเคราะห์งานหรือเนื้อหาให้เป็นขั้นตอนย่อยๆ โดยอธิบายขั้นตอนให้ชัดเจน
  3. เกณฑ์ความสำเร็จของงานหรือพฤติกรรมที่พึงประสงค์

  

                                                                    

           เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นคนไม่ตรงต่อเวลาจะฝึกอย่างไรจึงจะทำให้เขาตรงต่อเวลา?

       1. แยกงานชิ้นใหญ่ออกเป็นชิ้นย่อย แล้วกำหนดเวลาทีละชิ้น

       2. ให้จัดทำปฏิทิน ฝึกให้ชิน กำหนดทุกอย่างลงในนั้น 


2. การพูดกลับ การพูดทวน การท่องทวน (Digit Span Reversal)

                                    

             โดยฝึกทีละน้อยก่อน เริ่มจาก 2 หลัก วันละ 5 นาที แล้ววันหลังเพิ่มเป็น 10,20 30 นาที แล้วจึงเพิ่มเป็น เลข 3 หลัก และ 4 หลัก ดูซิว่าจะได้กี่หลัก

3.การสอนตรง (Direct Instruction)

                  กำหนดขั้นตอนให้เด็กทำ ลำดับดังนี้

       1. ครูแจกกระดาษให้ มีคำทั้ง ห้า ที่พิมพ์ตัวโตๆอยู่ในกระดาษแล้ว

       2. ครูแจกตังอักษร/สระ พลาสติกที่จะประกอบขึ้นเป็นคำให้เด็กคนละ 1 ชุด

       3. ครูนำคำแรกมาเรียงอักษรให้ดู บ้-า-น  มีรูปบ้าน ให้ดู ให้เด็กเรียงตาม ครูออกเสียง เด็กออกเสียงตาม ครูให้ดูรูปปาก

       4. ทำเช่นนี้ต่อไป จนครบ 5 คำ

                 ข้อควรคำนึง
       1. อย่าสอนหลายคำจนเกินไป  
       2. ให้มีภาพประกอบ  
       3. ให้มีกิจกรรมหยิบ-จับ  
       4. มีการทบทวน  
       5. มีการฝึกอย่างเข้มข้น  
       6. ให้แรงเสริม
       7. หากนักเรียนชอบที่จะใช้คอมพิวเตอร์ร่วมด้วยครูก็สามรถใช้ได้


4. ผังความคิด (Graphic organizer)

             

                  การใช้แผนภาพแสดงเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริง คำ หรือความคิดในภารกิจแห่งการเรียนรู้หรือวิธีการใช้ภาพเพื่อสร้างองค์ความรู้และเรียบเรียงสารสนเทศช่วยย่นย่อสารสนเทศที่มีอยู่มากมาย และดูประหนึ่งไม่สัมพันธ์กัน  ให้เป็นโครงสร้างที่อ่านง่าย ทำให้สิ่งที่ซับซ้อนง่ายต่อการเข้าใจ

                  ประโยชน์ของผังความคิด

แผนภาพช่วยในการจัดทำโครงสร้างงานเขียนมีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจในการอ่าน เป็นเครื่องมือในการเรียนทุกวิชาและทุกระดับใช้ในการตัดสินใจการวางแผนงานวิจัย  และการระดมสมอง ( Ross 2010 ; Wik Ed 2010 )


5. การเขียนตามลำดับเลข (Number Follow)

      

                  การเขียนตัวเลขกำกับส่วนประกอบของคำแต่ละคำ ได้แก่ พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด และวรรณยุกต์ เช่น กลางวัน มีส่วนประกอบทั้งหมด 7  ลำดับ คือ 1.      2.    3.    4.    5.     6.   ั   7.  โดยการสร้างตารางหรือกรอบขึ้นมาจากนนั้นกำหนดตัวเลขลงไป (ขวัญใจ สันติกุล และคณะ)

6. การสอนเขียนจากแผ่นป้าย (Story Board Writing)

                                                 

       ครูใช้บัตรคำหรือแผ่นป้าย เป็นองค์ประกอบให้เด็กใช้สร้างประโยค โดยเริ่มจากคำง่ายๆและรูปประโยคง่ายๆ เช่น ประโยค 2 ส่วน(ประธาน+กรยา) จากนั้นค่อยๆเพิ่มความยากเป็น ประโยค3ส่วน(ประธาน+กริยา+กรรม) เป็นต้น

                 ป้ายที่ 1 : พ่อ แม่ ป้า ลุง ยาย เอ(ชื่อคน)
                 ป้ายที่ 2 : เดิน นอน กิน วิ่ง อาบน้ำ                                                              

                 ป้ายที่ 1 : ฉัน  เรา  เสือ  แตงโม
                 ป้ายที่ 2 : กระโดด  สีแดง  ไม่ชอบ


7. ความคิดแรก (First thoughts)

                                           

      เป็นเทคนิคที่ใช้ส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเขียนโดยใช้รูปภาพเป็นสื่อ วิธีการคือ ให้นักเรียนดูรูปภาพจากนั้นให้เขียนคำโดยใช้ความคิดแรกที่เห็นภาพ ไม่ว่าจะเป็น คำที่อยู่ในภาพ สัตว์ สิ่งของ การกระทำ หรือความรู้สึก เป็นต้น (ขวัญใจ สันติกุล)


8. การสอนแบบเรียนปนเล่น (Play way school)
         วิธีการสอนที่ให้เด็กได้เล่น ได้แสดง ได้ร้องเพลง ได้ทำกิจกรรมควบคู่ไปกับการเรียน ตามหลักจิตวิทยาธรรมชาติ เด็กย่อมชอบการเล่น ชอบการทำกิจกรรม เช่น

            8.1 เกมเล่นไพ่ (Playing Cards) 

               

         การนำหลักการของการเล่นไพ่มาประยุกต์เป็นการใช้พยัญชนะและสระในภาษาไทยแทน จะทำให้เด็กรู้จักเสียงของพยัญชนะและสระได้ดีขึ้นผ่านการเล่น

           8.2 เกมหาความเชื่อมโยง เช่น ระหว่างภาพ ระหว่างสิ่งของ ส่วนใหญ่ ส่วนย่อย เป็นต้น (Making connections)

                         

                 เป็นเกมที่ต้องใช้ทักษะหลายๆอย่างรวมกัน เช่น การทำงานระหว่างมือกับตา การทำงานของสมองร่วมกันทั้งซ้ายและขวาพร้อมๆกัน ครูเลือกความสำพันธ์ที่เป็นเนื้อหาที่อยากจะสอนได้

     หรืออาจเป็นความสัมพันธ์ที่เด็กชอบ จากนั้นนำมาสร้างเป็นเกมให้เด็กเล่น 

              8.3 บิงโก (Bingo)

                       

         เป็นเกมที่เด็กๆชอบเล่น เพราะให้ความสนุกสนานในการลุ้นว่าใครจะเป็นผู้ชนะ แต่สิ่งที่ครูมองคือ เด็กได้เรียนรู้เลข หรือพยัญชนะต่างๆอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งถือเป็นเกมหนึ่งที่ช่วยให้เด็กรู้จักพยัญชนะ

     ตัวเลข และสระนั่นเอง


สื่อการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

Teaching media for Students with Learning Disabilities

    สื่อการสอนคืออะไร?

          สิ่งที่ช่วยในการเรียนรู้ ที่ครูผู้สอนและผู้เรียนเป็นผู้ใช้ เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพเช่น

             1. ทำให้สิ่งที่เข้าใจยาก ให้เข้าใจง่ายขึ้น

             2. เป็นการสร้างแรงจูงใจ และเร้าความสนใจ

             3. ช่วยเสริมสร้างความคิด และการแก้ปัญหาในการเรียนรู้ของนักเรียน

             4. สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับเวลา ระยะทาง และขนาดได้ เช่น

                  4.1 สามารถนำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาศึกษาได้

                  4.2 สามารถย่อยสิ่งใหญ่ให้เล็กลง เพื่อให้สะดวกแก่การศึกษา

                  4.3 ขยายสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น

                  4.4 ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมขึ้น

                  4.5 สามารถนำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้  (อนุศักดิ์ สมิตสันต์, 2540, หน้า 179-180)

        ในการเตรียมสื่อการเรียนการสอนควรยึดหลักการดังต่อไปนี้

             1. เน้นจุดเด่นที่ต้องการใช้ประโยชน์

             2. ลดรายละเอียดที่มากไป

             3. ใช้ภาษาที่ง่าย (ประโยคต้องสั้น คำศัพท์เข้าใจง่าย)

             4. สอนศัพท์ที่สำคัญก่อนจะเริ่มใช้

             5. มีรูปภาพ หรือแผนภูมิประกอบ

             6. ให้คำแนะ หรือคำใบ้เมื่อต้องการให้นักเรียนตอบ

             7. เปิดโอกาสให้เปลี่ยนหรือแก้คำตอบได้

             8. ตัวพิมพ์อ่านง่าย ตัวหนังสือมาตรฐาน รูปแบบไม่สับสน 

                  


ตัวอย่างสื่อการสอน

                     

                          

*** หากผู้ปกครองเชียงใหม่ท่านใดสนใจโปรแกรมการศึกษาพิเศษเพื่อพัฒนาการอ่านติดต่อได้ที่ศูนย์ Mind Brain & Body

แหล่งที่มา   http://wipatantun-wi.blogspot.com/2011/11/1.html

                Thailand Learning Disabilities Ldt

แปลและเรียบเรียงโดย Mind Brain & Body พฤศจิกายน 2559


view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view