A PEDIATRIC PHYSICAL THERAPIST EXPLORES W-SITTING
ทุกครั้งที่เดินเข้าไปในห้องเรียน มักจะพบว่ามีเด็กอย่างน้อย 3 คน นั่งท่า W-sitting ซึ่งทำให้นึกถึงตุ๊กตาหิมะที่กำลังละลาย ขาของพวกเขาจะแบะวางรอบๆ สะโพก ลำตัวมักงอ และไม่สามารถเอื้อมแขนออกจากฐานท่านั่งเพื่อหยิบจับของเล่นได้ ครูมักจะเตือนเด็กกลุ่มนี้ว่า “นั่งให้เรียบร้อย” หรือ “ไม่นั่งท่า W-sitting”
WHAT DOES W-SITTING LOOK LIKE? : ท่านั่งแบะขา W-sitting คือ
ลักษณะท่านั่ง W-sitting คือ ขณะที่เด็กนั่งบนพื้น สะโพกจะวางอยู่ตรงกลางระหว่างขาทั้งสอง เข่างอ ขาหมุนออกจากลำตัว ถ้ามองจากมุมสูงจะเห็นว่าขาของเด็กเหมือนอักษรดับเบิลยู “W” เด็กทุกคนสามารถนั่งท่านี้ และนั่งจนติดเป็นนิสัยได้ เนื่องจากท่านี้ทำให้ฐานในการนั่งนั้นกว้างขึ้น จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายต่ำลง และช่วยเพิ่มความมั่นคงผ่านข้อสะโพกและลำตัว และมันเป็นท่านั่งที่สะดวกต่อการเล่น เนื่องจากเด็กไม่จำเป็นต้องคอยรักษาการทรงท่าตัวเองขณะจดจ่อกับของเล่น
WHY IS W-SITTING PROBLEMATIC FOR KIDS? : ทำไมท่านั่งแบะขา W-sitting จึงสร้างปัญหาให้แก่เด็ก
การนั่งท่านี้เด็กจะไม่สามารถหมุนลำตัว และเอี้ยวตัวไปด้านข้างเพื่อหยิบของเล่นได้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่เด็กควรสามารถเอื้อม และหมุนลำตัวได้ เพื่อพัฒนาปฏิกิริยารักษาสมดุลการทรงท่า (balance reactions) (สำคัญเวลาวิ่งล้มแล้วสามารถใช้มือยันพื้นได้ทัน) และสำคัญต่อพัฒนาการไขว้กลางลำตัว (cross midline) (สำคัญมากเมื่อถึงวัยเรียนรู้การเขียน) และอาจทำให้เด็กมีปัญหาพัฒนาการการใช้ร่างกายสองซีกร่วมกัน (Bilateral coordination) (ความสามารถในการใช้ร่างกายทั้งสองซีกร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ) ทุกๆ ทักษะของการเคลื่อนไหวที่เด็กเรียนรู้เกิดมาจากพัฒนาการขั้นพื้นฐานก่อนหน้า ดังนั้นถ้าเด็กมีความยากลำบากในการพัฒนาสหสัมพันธ์ระหว่างร่างกายทั้งสองซัก อาจทำให้เด็กขาดทักษะต่างๆ เช่น การพัฒนามือข้างถนัด การกระโดดขาเดียว การโยนรับบอล การแตะบอล เป็นต้น
การนั่งแบะขาท่า W-sitting อาจเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อสะโพกและขาหดเกร็งทำให้เด็กเดินเท้าบิดท่า “นกพิราบ” (pigeon toed) ทำให้เสี่ยงต่อการปวดสะโพก หรือหลังเมื่อโตขึ้น งานวิจัยหนึ่งแนะนำว่าการนั่งแบะขาท่า W-sitting ในเด็กก่อนวัยเรียน (preschooler) อาจเพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ทำให้เด็กเท้าแบนทั้งสองข้าง (flat footed) (European Journal of Pediatrics, Chen KC, 2010)
WHAT CAN YOU DO TO HELP?: เราควรช่วยเด็กเหล่านี้อย่างไร
ถ้าเด็กนั่งท่าแบะขา W-sitting บ่อยๆ อาจนำไปสู่ปัญหาการควบคุมการทรงท่า (poor posture) การพัฒนาทักษะต่างๆ ล่าช้า (delayed developmental skills) และกระทบการทำงานของกล้ามเนื้อกลุ่มอื่น หรืออาจเป็นสัญญาณ หรือตัวบ่งชี้ปัญหาพัฒนาการด้านอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ในอนาคตได้ ถ้าพบเด็กที่นั่งท่าแบะขาท่า W-sitting และมีปัญหาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น พัฒนาการเดิน กระโดด หรือยืนขาเดียวล่าช้า เดินเท้าบิดเข้าด้านในมากผิดปกติ “Internal Femoral Torsion” ข้อต่อร่างกายหลวม (poor joint contraction) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อต่ำ (low muscle tone) เหนื่อยง่าย (low endurance) เฉื่อยชา ระดับความตื่นตัวต่ำ (low activity level) มีปัญหาทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก การเขียน ควรแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือทดสอบพัฒนาการความสามารถพื้นฐานได้ที่ ศูนย์กระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ไมน์ด เบรน แอนด์ บอดี้ ถนนราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 052 001856
Reference: http://theinspiredtreehouse.com/child-melting-look-w-sitting/
เรียบเรียงโดย Mind Brain & Body ก.ค. 2558